เข้าสู่เว็บสคูลดิโอถอดรหัสทักษะแห่งความสำเร็จ ของผู้บริหารชั้นนำยุคดิจิทัล

EP.07 คุณรวิศ - มุมมองต่อกระแส 'Anti-Productive' และภารกิจนำศรีจันทร์สู่ IPO

Listen on

พูดคุยกับผู้จุดกระแสคำว่า “Productive” ในไทย คุณรวิศ-หาญอุตสาหะ CEO บริษัทศรีจันทร์ และ Mission To The Moon ในวันที่สังคมคนรุ่นใหม่เริ่ม Burnout จนเกิดเทรนด์ “Anti-Productive” ในฐานะเจ้าพ่อ Super Productive อย่างคุณรวิศ มีมุมมองต่อเรื่องนี้อย่างไร พร้อมเจาะลึกวิธีวางกลยุทธ์และแนวทางบริหารคนในองค์กร กับภารกิจนำบริษัทศรีจันทร์สู่ IPO รวมถึงเคล็ดลับพัฒนาทักษะสำคัญในโลกยุคใหม่ ที่ต้องบาลานซ์ทั้งการทำงานและคุณภาพชีวิต

Guest
คุณรวิศ - มุมมองต่อกระแส 'Anti-Productive' และภารกิจนำศรีจันทร์สู่ IPO  | คุณแท็ป-รวิศ หาญอุตสาหะ

คุณแท็ป-รวิศ หาญอุตสาหะ

CEO บริษัทศรีจันทร์ และ Mission To The Moon


Transcript

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านกลับเข้าสู่รายการ Chief’s Table อีกครั้งนึงนะครับ วันนี้เรามาพูดคุยกับแขกรับเชิญคนพิเศษครับผม คุณแท็ป รวิศ หาญอุตสาหะ CEO ของศรีจันทร์และ Mission To The Moon วันนี้เดี๋ยวเราจะมาชวนพี่แท็บนะครับคุยกันหลาย ๆ เรื่องเลย เรื่องแรกก็น่าจะเป็นเรื่องของการทำธุรกิจนะครับจากการที่พี่แท็บเข้ามาช่วย Transform จากศรีจันทร์ดั้งเดิมที่เป็นธุรกิจของครอบครัวให้กลายเป็นธุรกิจที่ใหญ่โตประสบความสำเร็จจนตอนนี้ตั้งเป้าที่จะ IPO เร็ว ๆ นี้ด้วยยอดขายกว่า 1,500 ล้านบาท นอกจากนี้นะครับได้พี่แท็บมาแล้วก็คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้นะครับที่จะต้องชวนพี่แท็บคุยกันในเรื่องของ Productivity หลังจากโควิดที่ผ่านมาครับตอนนี้หลาย ๆ คนเริ่มมีความคิดที่เปลี่ยนไปนะครับ หลายคนเริ่ม Anti Productivity เราก็เริ่มคิดว่าตกลงเราจะต้องขยันไปขนาดนั้นเพื่ออะไรนะครับ เดี๋ยววันนี้จะมาฟังจากปากพี่แท็บกันครับว่ามุมมองในเรื่องนี้ของพี่แท็บเปลี่ยนไปอย่างไรในรอบหลายปีที่ผ่านมา ถ้าพร้อมแล้วเรามาพบกับพี่แท็บกันเลยครับ พี่แท็บสวัสดีครับ

สวัสดีครับต้า สวัสดีครับ

จริง ๆ ต้องบอกว่าเรามีโอกาสเจอกันทานข้าวกันอยู่ทุกเดือนนะครับ

ปกติเราก็คุยกัน Informal นะสนุก ๆ

วันนี้ก็มาจริงจังนิดนึงนะครับ วันนี้เดี๋ยวชวนพี่แท็บคุยหลาย ๆ เรื่องเลยนะครับ อยากจะให้ผู้ชมได้รู้จักพี่แท็บมากขึ้น แล้วก็เดี๋ยวเราจะค่อย ๆ เข้ามาในเรื่องของการทำงาน เรื่องของการใช้ชีวิตนะครับ

ก็ก่อนอื่นอยากให้พี่แท็บแนะนำตัวนิดนึงครับผมว่าเรียนอะไรมา ไปทำอะไรมา ก่อนที่จะมาเป็น CEO ของศรีจันทร์ครับผม

ก็เรียนจบวิศวะจุฬา เรียนไฟฟ้า แล้วก็พี่ Entrance น่าจะเป็นปีไม่สุดท้ายก็ก่อนสุดท้าย ยังไม่มี GAT, PAT อะไรพวกนี้นะสมัยนั้น ก็เรียนจบวิศวะไฟฟ้ามา ตอนเลือกแน่นอนไม่รู้ว่าตัวเองอยากเรียนอะไร แต่พอเรียนไปแล้วรู้ว่าอันนี้ไม่อยากเรียน ก็เลยพยายามไปหาทางทำงานสายอื่น แต่ก็พอเรียนวิศวะมาก็เลยอยากให้มันดูใกล้เคียงนิดนึงก็เลยเป็น Sale Engineer ก็คือเป็นวิศวะที่ขายของแหละ จริง ๆ ขายของมากกว่างาน Engineer นิดหน่อยหน่อย แล้วก็ขายเกี่ยวกับพวกนี้ อุปกรณ์ Network, IT อะไรพวกนี้ให้มันตรงกับที่เรียนมาสักหน่อย ทำงานไปสักพักหนึ่งก็รู้สึกว่า คือช่วงนั้นใคร ๆ ก็ต้องไปเรียนต่อ คือมันจะมีเป็น Format ทำงานสัก 3 ปี ไปเรียนต่อปริญญาโท จบ Finance กลับมาคราวนี้ชอบแล้วเพราะว่าเลือกเอง เริ่มรู้แล้วว่าเรียนอะไรสนุก ก็มาอยู่ Bank สัก 3-4 ปีนะ ช่วงนั้นเป็นช่วงเวลาที่ดีมากครับเพราะว่ามันเป็นช่วงเวลาที่เราได้อยู่ใน Corporate ขนาดใหญ่ พี่อยู่ Citibank ธนาคารมันก็มี Format แบบ American Bank นะทุกอย่างมันก็จะเป๊ะ ๆ แล้วคนก็จะ Competitive มาก คือ Culture เขาเน้น Competitive เป็นหลัก เราก็จะรู้สึกว่าเราตื่นตัวตลอดเวลา คืออยู่เฉย ๆ ไม่ได้เพราะว่าทุกคนบี้กัน คือธุรกิจศรีจันทร์พี่ไม่รู้เลยว่าเขาทำอะไรกันต้องบอกเพราะคุณพ่อไม่ได้ทำก็เลยไม่เคยรู้ รู้แต่ว่าเป็นธุรกิจของคุณปู่แค่นี้แหละ รู้แค่นี้ แล้ววันนึงก็มาที่ศรีจันทร์มารับแกเพราะว่าแกป่วย คือแกไปทำงานทุกวันแก 80 กว่าละ แกต้องไปโรงพยาบาลอะไรสักอย่างแล้วก็ไม่มีใครว่างพี่ก็เลยขับรถไปรับ แล้วพอเราไปดูเราก็รู้สึกว่าเสียดายถ้าไม่มีใครทำต่อ เพราะว่าถ้าเกิดคุณปู่แก 80 กว่าแล้ว แกคงทำได้อีกไม่กี่ปีหรอก ถ้าไม่มีใครทำต่อมันก็คงจะค่อย ๆ หายไปอะไร ก็เลยไปคุยกับนาย นายนี่สำคัญมากเลยนะไปคุยกับนาย นายพี่เขาก็นั่งคิด แล้วอยากลองทำธุรกิจที่บ้านเหรอ เขาบอกว่าก็ไปทำสิเพราะว่าถ้าเกิดไม่เวิร์คก็ไปทำปีนึง ไม่เวิร์คก็กลับมาสมัครงานใหม่ มาสมัครงานที่นี่ก็ได้ ถ้าเกิดพี่ยังอยู่เดี๋ยวพี่รับ แค่นั้นแหละก็เห็นทางสว่างเลยว่าจริง ๆ มันง่าย ๆ เลย ก็เลยไปลาออกเลยวันรุ่งขึ้น พอนายบอกอย่างนี้ก็คือลาออกเลย คือตอนแรกเราก็แบบ เพราะเราก็รักงานที่ Bank เหมือนกันเพราะ Bank มันเป็นงานที่สนุกแล้วเราก็ตั้งใจจะโตในสายนี้ด้วย แต่ออกมาพอทำเราก็รู้สึกว่าทำงานของตัวเองเหนื่อยกว่าเยอะเลยโดยเฉพาะบริษัทที่มันขนาดเล็กมาก เราเคยอยู่ในองค์กรขนาดใหญ่ที่เราทำแค่ Function นี้เราก็โยนตัวนี้ต่อไปไม่รู้หรอกมันเกิดอะไรขึ้นแต่รู้ว่าเดี๋ยวเราเสร็จแล้วมันจะเสร็จ พอมันเป็นองค์กรขนาดเล็กพี่ทำทุกอย่างจริง ๆ แล้วก็ตอนนั้นบริษัทไม่มีระบบอะไรเลยไม่มีคอมพิวเตอร์ เพราะฉะนั้นงานแรกของพี่ก็คือเอาทุกอย่างขึ้นมาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ให้ได้ จริง ๆ ช่วงนี้เป็นช่วงที่โชคดีนะเพราะว่าได้เรียนรู้ครับว่าจริง ๆ แล้วใน 1 ธุรกิจตั้งแต่ต้นจนจบมันมีอะไรบ้าง เพราะว่าต้องทำทั้งหมดทุกอันเลย บัญชี จัดซื้อ ครบถ้วนเลย สิ่งที่ช่วยพี่มากเลยตลอดการทำงานคือ Excel นี่พูดจริง ๆ เพราะว่ามันเป็นวิธีการคิด Logic ที่ดีมาก แล้วก็จริง ๆ แล้วเราสามารถรันธุรกิจบน Excel ได้นะถ้าธุรกิจไม่ได้ใหญ่มาก ก็เลยรู้สึกว่าโปรแกรมนี้ทุกครั้งเวลาพี่พูดกับใครพี่จะบอกว่าขอบคุณคนที่คิดโปรแกรมนี้นะ เพราะว่ามันช่วยให้เราเอาของที่อยู่ในสมองออกมาเป็นตัวเลขได้จริง ๆ

ไม่ว่าจะเป็นรายงาน Report ใช่ไหม ตัวเลขบัญชี ทำทุกอย่างได้ จริง ๆ ผมเห็นหลายบริษัทเอา Excel ทำพวกฟอร์มจดหมายอะไรก็ Excel หมด

ทุกอย่าง ทำได้หมด ทำได้เยอะจริง ๆ แล้วมันก็แก้อะไรง่าย แต่โอเคเดี๋ยวนี้มันมีอะไรที่มันดีกว่าแล้วแหละ ในสมัยก่อนมีคนถามว่า Skill Obsolete เป็นไง พี่บอกนี่ไง สมัยก่อนพี่ภาคภูมิใจในความสามารถ Excel ของพี่มาก พี่ทำพวก Report โชว์ Dashboard อะไรนี่นะพี่ทำด้วย Excel หมดเลย แต่ตอนนี้สู้ Power BI ไม่ได้หรอก คือเสียเวลาสู้กับมัน ให้มันทำเหอะ

ใช่ทำใน Excel ถ้าใครพอรู้เราต้องมา Pivot Table อะไรเองก่อน Power BI มันลากวาง

เพราะฉะนั้น Skill ที่เราเคยภูมิใจมากวันนี้ก็เรียกว่าไม่ได้ใช้แล้วนะ

แต่ต้องบอกว่าก็ยังต่อยอดได้ง่ายอยู่

ใช่ แต่มันก็คือสามารถอธิบาย Logic ได้

จริง ๆ เมื่อกี้มีอีกประเด็นนึงที่จริง ๆ ผมชอบนะ ก่อนลาออกพี่แท็บไปคุยกับหัวหน้า หัวหน้าน่ารักมากเลย ก็ไปสิ ถ้ามันไม่เวิร์คก็กลับมา ซึ่งหลาย ๆ ครั้งเด็ก ๆ เขาก็จะคิดเยอะอะไรยังไงดี แต่หลายครั้งมันดูเป็นเรื่องง่ายมากเลยก็แค่ไปคุยกับหัวหน้า เดี๋ยวเขาช่วยแนะนำเราได้ เขาก็รู้จักเราดีประมาณนึงว่าเราทำอะไรได้ทำอะไรไม่ได้

โอเค พี่แท็บก็เป็นคนหนึ่งที่เรียกว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเลยแล้วกันในเรื่องของ Marketing นะครับ แล้วเรื่องของเทคโนโลยีที่เอามาใช้ในเรื่องของ Marketing ในงานขายของเราพี่แท็บทำอะไรยังไงบ้างครับ

ในเชิงของ Marketing จริง ๆ สิ่งที่มันเปลี่ยนไปเยอะจริง ๆ เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งนะ แต่ว่าในเชิงของตัววิธีคิดอันนี้เปลี่ยนเยอะมาก เมื่อสักประมาณพี่ว่า 6-7 ปีที่แล้วไม่เกินนี้ เวลาเราคิด Product ขึ้นมาเอาแบบเต็ม Loop เลยนะ เราจะเริ่มต้นจากการไปจ้าง Research Agency มาก่อนนะครับ เขาก็จะทำ Focus Group, Qualitative Research อะไรแบบนี้นะครับ เอาข้อมูลมา แล้วเราก็มานั่งคิดกันโอเค Product จะออกแบบนี้ เสร็จปุ๊บเอา Agency มา Pitch งาน Pitch งานเสร็จถามว่าใครเลือกว่าจะพูด Product แบบไหนเพราะ Product มันวิธีการพูดได้หลายแบบนะครับ คนเลือกก็นั่งอยู่ในห้องนั่นแหละ CEO, Agency, Creative ก็นั่งสุมกันอยู่ประมาณ 10 คนแล้วก็เคาะเอาบอร์ดนี้ เสร็จแล้วทุกคนก็โอเคไปทำถ่ายหนัง สมัยก่อนถ่ายหนังแพงมาก เรื่องนึงเฉลี่ยประมาณ 5 ล้านที่ทำมา เดี๋ยวนี้ไม่มีใครถ่ายแล้ว เดี๋ยวนี้ล้านนึงโคตรแพง ทีนี้ถ่ายทุกอย่างเสร็จ Key Visual เสร็จ ถ้าใน Process พอร์เซตนี้มีตังค์ก็จะมีดารามาด้วย ถ้าไม่มีตังค์ก็ไม่มีดารา ตังค์เยอะหน่อยก็มีดารา ดารายิ่งดังก็จะยิ่งมีโอกาส เสร็จแล้วก็จะต้องไปจองหนังสือพิมพ์ไทยรัฐหน้าหลังจำได้เลย

เต็มหน้า ต้องจองแบบเต็มหน้า

จองได้นี้เรียกว่าแทบจะปิดบริษัทฉลองเพราะมันจองยากมาก เสร็จแล้วเราก็ไปหาร้าน เฮียครับ Product ออกใหม่ขอหัว Shelf นะ เดี๋ยวขอตั้ง Standee ตั้งกองนะ ก็เจรจากันไปเสร็จวัน D-Day พร้อม Launch หลังจากนั้นทำอะไรไม่ได้เลยนะนอกจากสวดมนต์ จริง ๆ เพราะว่ากว่า Feedback จะมา 2-3 เดือน พี่ใช้คำว่า Hope for The Best ทุกครั้ง แต่ว่าเดี๋ยวนี้ไม่ได้ทำแบบนั้นแล้ว สิ่งที่เปลี่ยนไปเยอะมากเลยคือคนตัดสินใจครับ สมัยก่อนทุกอย่างตัดสินใจในห้องประชุมหมด เรียกว่าเกือบ 100% ข้อมูล Research เป็นเพียงข้อมูลประกอบเล็ก ๆ บางทีไม่อ่านด้วยซ้ำ คือบางทีไม่สนใจ ไม่เอาดีกว่า ยุคนี้มาใหม่ สมมติบอกว่าพี่ทำ Skincare Product Line ขึ้นมาอันนึง คุยกันว่า Skincare ตัวนี้มัน Approach ใดได้บ้าง ทีม R&D เขาก็จะบอกว่ามันมี Approach แบบ Scientific พี่ คือเล่าเลย ลดริ้วรอย 64 ประการใน 7 วันอะไรแบบนี้ อารมณ์แบบนี้นะครับ มีสารบลา ๆ อะไรแบบนี้นะ โฆษณาต้องมีคนใส่ชุดขาว อันนี้ก็เป็น Way หนึ่ง หรืออีก Way นึงคือเล่าอารมณ์แบบ Story Telling นักวิทยาศาสตร์ของเรานะไปที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ญี่ปุ่นแล้วก็ไปเจอคุณป้าทำสาเกอยู่ คุณป้านี้หน้าเหี่ยวตามวัยแต่มือตึงเหมือนสาว ๆ เลย ก็เลยสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นก็เลยไปดูที่สาเก สาเกนั้นมีสารที่ทำให้ผิวย้อนวัยได้ ก็เป็น Pitera Essence ที่อยู่ใน SK-II อันนั้นคือตัวอย่างเป็นต้นนะครับ ทั้ง 2 อันนี้จริง ๆ มันคือ Product ตัวเดียวกันก็ได้นะ จะพูด Way ไหน 2 Way คนละเรื่องเลย ถามว่าใครจะรู้ ถ้าเป็นสมัยก่อนก็นั่งเคาะกันในห้องประชุมนี่แหละ แต๋เดี๋ยวนี้ไม่ต้อง เดี๋ยวนี้เรายิง Ads

ทำทั้ง 2 แบบเลย

หรืออาจจะ 5 แบบก็ได้ แล้วก็ดู Engagement หรือดู Parameter ต่าง ๆ ถ้าสนใจ แม้แต่กระทั่งราคาครับต้า ขายถูกไปก็ไม่ดีนะ ขายแพงไปก็ไม่ได้ ราคามันต้องตรงนี้ ทีนี้ถามว่าตรงนี้หายังไง สมัยก่อนก็ไปคุยกับร้านค้า ดูต้นทุนเรา ดูคู่แข่ง แล้วก็ประมาณนี้ละมั้ง ตอนนี้ไม่ต้องนะ เราก็ยิง Ads สมมุติอยากจะหา 5 ราคา เสร็จแล้วก็หา Intention to Buy เขาหยิบใส่ตะกร้าหรือเปล่า ใครหยิบใส่ตะกร้าเยอะที่สุดคนนั้นชนะอะไรแบบนี้ครับ มันก็เลยเปลี่ยนวิธีการทำงานหมดเลย คือตอนนี้หน้าที่ของนักการตลาดคือ Setup การทดลองพวกนี้ให้เกิดเยอะที่สุด เพราะฉะนั้น Tools มันจะมากับวิธีคิดแบบนี้ แล้วก็ขาพวกลูกค้าอันนั้นก็คือการเก็บข้อมูล เก็บข้อมูลเสร็จต้องถามว่าเก็บข้อมูลเสร็จแล้วเอาไปทำอะไร

เก็บเยอะมาก มัวแต่เสียเวลาทำระบบไม่ได้ใช้เลยก็เสียเวลา

เสียเวลา อย่ากรณีเคสนึงพี่ชอบมากเลยพี่เพิ่งอ่านมานะ คือเป็นเคสแบบพูดแล้ว Basic เคสของ Starbucks ตอนนี้ Starbucks ถ้าใครเดินเข้าไปบางสาขาในเมืองไทยเป็นแล้วแต่ที่อเมริกาเป็นหมดแล้ว คือสมัยก่อนมันเป็นป้ายแผ่น ๆ ใช่ไหม เดี๋ยวนี้มันเป็นจอทีวีหมดซึ่งก็ฟังดูปกติ แต่จอนี้มันไม่เหมือนกันสักที่นึงและไม่เหมือนกันสักเวลา ถ้ามันจับได้ว่าข้างนอกฝนกำลังจะตก เมนูบางเมนูจะขายดีในช่วงฝนตกเขามี Data อยู่เขาก็เอาเมนูนั้นขึ้นจอ

เพราะฉะนั้นในมุม Marketing ผมว่าที่พี่แท็บเล่าก็คือตั้งแต่เปลี่ยนเรื่องของวิธีการทำงานเลย แต่เดิมมันเหมือนเราซื้อ Billboard ได้ทีเดียว เราซื้อหนังสือพิมพ์ได้ 1 ครั้ง เราลงทุนเยอะมาก Upfront แล้ว Hope for The Best แต่ตอนนี้โจทย์คือพอทุกอย่างเป็น Digital หมด วิธีคิดของเราคือทดลองให้เยอะที่สุด แล้วหลายครั้งมันไม่ใช่ 1 อันที่เวิร์ค มันแบบอันนี้เวิร์คกับคนนั้น อันนั้นเวิร์คกับคนนี้ เพราะฉะนั้นโจทย์ของ Marketer สมัยนี้คือต้องทำการทดลองให้ได้เยอะที่สุด แล้วภาคที่เทคโนโลยีต้องมาช่วยก็คือเครื่องมืออะไรบ้างที่จะมาอำนวยความสะดวกในเรื่องของการทดลองพวกนี้ เก็บ Data ลูกค้ากลับมา แล้วเอา Data พวกนี้กลับไปใช้งานต่อข้างหน้า

จากเดิมธุรกิจจริง ๆ ต้องบอกว่าสมัยก่อนตั้งแต่สมัยยุคเครื่องพิมพ์ดีดยันจนคอมพิวเตอร์ พี่แท็บเอาขึ้นระบบ ต้องบอกว่าเป็นผู้นำคนหนึ่งที่สนใจเรื่อง Tech มาก ทำ Podcast ก็มี Tech Monday ซึ่งผมไปฟังแล้วแต่ละตอนก็นี่มันหนักมากนะ พี่แท็บทำ Content นี้ให้ใครฟังนะ แบบว่าหนักมาก ๆ อยากให้พี่แท็บลองเล่าให้ฟังหน่อยครับเรื่องของการเอาเทคโนโลยีมาช่วยในการ Transform องค์กร ทำอะไรไปบ้าง แล้วก็มี Lesson Learn อะไรที่น่าสนใจ

ต้องบอกว่าพี่ไม่ได้เป็นคนเก่งเรื่องพวกนี้นะ เพราะว่าถ้าเป็นในบรรดาแวดวงเพื่อน ๆ กันเขาก็จะรู้ว่าพี่เป็นคนที่รู้เรื่องนี้น้อยที่สุดในเชิงของ Technical Deep จริง ๆ ว่ามันทำอะไร แต่ว่าพี่ก็พยายามศึกษาในเชิงของ User ละกัน ใช้คำนี้แล้วกัน พี่คิดว่าเราต้องมานั่งคิดจากโจทย์ธุรกิจเราจริง ๆ ว่าวันนี้อะไรต้องใช้ มันมีสิ่งที่ต้องใช้และเวลาด้วยนะ คืออย่างตอนนี้พี่บอกว่าระบบข้างในต้องแน่นก่อน ก่อนยูจะไปทำ CDP, CRM จะไปตรงนั้นข้างในต้องเป๊ะมาก ถ้าเกิดว่าข้างใน Stock ยังเละอยู่อะไรพวกนั้นไม่ต้องทำหรอก เพราะว่ามันทำก็ไม่มีประโยชน์ ค่อย ๆ ทำก่อน แล้วก็ต้องดู Manpower เราด้วย Manpower เราในที่นี้ก็คือความสามารถในการหา Manpower ของเราซึ่งอาจจะไม่ได้เป็นคนของเราได้ ที่ปรึกษาก็ได้ เดี๋ยวนี้พี่ก็ใช้บริษัท Consult ข้างนอกทำเยอะแหละ เพราะพูดจริง ๆ หาพนักงานประจำทำยาก แล้วมันก็เป็นลักษณะ Project Base คือจบมันก็จบไปเป็นเรื่อง ๆ ไปใช่ไหมครับ แล้วก็ต้องคุยกับคนเยอะ ๆ ก่อนจะเลือกใช้เพราะของพวกนี้อย่างที่ต้ารู้คือ Implement แล้วถอยหลังยากใช่ไหม ส่งไปฝึกไป Train 6 เดือน ไม่ชอบเปลี่ยนเหอะ มันไม่ได้ ลูกน้องด่าเละ

คนทำงานเขาชอบบ่นกันว่า CEO ชอบเลือกอะไรมาก็ไม่รู้ คนใช้ไม่ได้ชอบ

ใช่ เพราะฉะนั้นต้องคิดแบบให้ through ก่อน ต้องเรียกว่ามีการแบบเอามาลองใช้ ลองถาม Feedback เป็นยังไงชอบทำใช่ไหม เสร็จแล้วก็ต้องใช้เวลาครับ รู้ทุกคนมีเงินพร้อมจ่าย แต่ว่าสิ่งที่สำคัญกว่าเงินคือจ่ายแล้วก็ได้ใช่รึเปล่า ไม่อย่างนั้นมันก็จะกลายเป็นของขึ้นหิ้ง

ทิ้งแล้วก็ทำใหม่

ใช่ พี่ทิ้งทำใหม่มาหลายรอบแล้วนะจนรู้ว่าตอนนี้ โอเค ใจเย็น ๆ อย่าพึ่งรีบ ตอนดูตอนแรกมันจะดูดีหมดทุกอย่าง เวลาเราดูโอ้โหตื่นเต้นจังเลย ยิ่งมีคน Reference ว่าใช้นี่สิพี่ดีมากเลย เราก็รู้สึกมันเจ๋งมากเลย แต่มันอาจจะเหมาะกับเขาไงไม่เหมาะกับเรา เป็นไปได้

มีอันไหนที่เจ็บหนัก ๆ ไหมครับทำแล้วทิ้ง

หนึ่งทำเว็บเอง ทำเว็บรอบแรกทำทุกอย่างเองหมดเลย ทิ้ง อันนี้แพงมาก แล้วก็จะพยายามจะทำระบบที่คล้าย ๆ กับพวก Low-Code Platform ตอนนี้คือเป็นคล้าย ๆ แบบ เรียกว่าเป็นระบบที่ Tools ในการ Run Process แบบ Automate Process แต่ทำสมัยที่มันยังไม่มีพวกนี้

ยังไม่มีคนพูดถึง Low-Code, No-Code แต่ Mission พี่แท็บไปแล้วอยาก Automate งาน

ทำไปแล้วคือมันก็ใช้งานได้ประมาณนึงครับ แต่ว่าด้วยที่เราทำเอง Bug มันเยอะ ในที่สุดก็ต้องรื้อระบบนั้นทิ้งแล้วก็ต้องไปเอาพวก Low-Code, No-Code มาช่วยทำพวกนี้แทน อันนี้ที่เจ็บหนัก ๆ มี 2 อันนี้

แต่ถ้าพูดถึง Tools ซักตัวนึงที่พี่แท็บได้เอามาลองใช้แล้วรู้สึกว่ามันเพิ่ม Productivity ให้ทีมแบบดีมาก Tools นี่ Life Saver มีตัวไหนไหมครับ

อันนี้โฆษณาให้เลย Kissflow ชอบมาก คือ Kissflow มันก็เป็นนี่แหละ Low-Code, No-Code แล้วก็เราเอา Process ทุกอย่างที่เรามีขึ้นไปบนนั้น แต่มันไม่ได้ง่ายแบบนี้นะ พูดแบบนี้หลายเดือนนะกว่าจะเสร็จ เสร็จแล้วสมมุติจะ Approve PR, PO จะ Approve Budget ใช้เกินทำยังไง มี Warning ยังไงอะไรแบบนี้วิ่งไปวิ่งมา เสร็จแล้วอันนี้ Auditor หรือใครก็ตามที่จะมาตรวจให้เราชอบมาก เพราะมันชัดเจนเลยว่าการ Approve ไม่ได้เซ็นด้วยนะ Approve จริง ๆ มันลากมาจาก Email Stamp เลยว่าใครเป็นครน Approve ชัดเจน ไม่ต้องมาหาหลักฐาน

คืออย่าง Kissflow เราก็สามารถวาง Workflow ได้ว่ามันต้องทำอะไรบ้าง เช่น การออกใบแจ้งหนี้ ใบซื้อ Sale Order ต่าง ๆ สำเร็จมันต้องทำอะไรบ้าง 1-3 ซึ่งบริษัทที่เรียกว่ามีกระบวนการทำงานที่ดีและกันจะต้องมี Work Instruction ว่าเราจะต้องทำอะไรบ้าง 1-3 แล้วสิ่งที่ Audit เขามักจะพยายามหาคือมันมีใครบ้างที่ทำ 1 แล้ว 5 หรือแอบทำ 5 แล้วค่อยกลับมาทำ 1 ซึ่งพอมีอย่างนี้ทุกอย่างมันก็ถูกล็อคอย่างนี้อยู่นะครับ แล้วก็เอกสารอย่างเดิมอาจจะต้องแบบ เราชอบใช้คำว่าจดหมายเวียนนะ มันต้องแบบคนนี้เซ็นแล้วคนนี้ Approve แล้วคนนี้ต่ออีกที อันนี้มันก็จะเรียกว่า Enforce Flow นี้ให้เราอัตโนมัติ

ถูกต้องครับ แล้วอีกอันนึงที่พี่ชอบมากคือมันไม่มี Data ถูกเก็บอยู่กับใครอันนี้สำคัญ คือสมัยก่อนเราจะมีไฟล์ Excel อันนึง เธอมีอันนึงฉันมีอันนึงอะไรอย่างนี้ใช่ไหม แต่อันนี้ไม่มีเลย คือทุกคนก็คือ Flow ไปแล้ว Data มาเก็บที่ถัง

พอเริ่มเห็นภาพมากขึ้นนะ พี่แท็บจากเข้ามาช่วยธุรกิจที่บ้านเริ่มจากการรื้อหลังบ้านก่อน เพราะหลังบ้านไม่พร้อมไปต่อไม่ได้นะครับ แล้วพี่แท็บก็ช่วยเอาเทคโนโลยีหลาย ๆ อย่างมาปรับปรุงการทำงานภายในให้ดีขึ้นนะครับ ทีนี้อยากพูดถึงตัวธุรกิจบ้างนะ ตอนที่พี่แท็บเริ่มมันเป็นผลิตภัณฑ์ Original ศรีจันทร์คลาสสิคแบบที่ทุกคนเคยรู้จักนะครับ แล้วหลังจากพี่แท็บเข้ามานะผมว่าผมเห็น Step นั้นมาอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากมีคล้าย ๆ เดิม บิดจากแป้งเดิมเป็นสูตรนั้นสูตรนี้ เริ่มมีเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ จนมาตอนนี้พี่แท็บประกาศกร้าวแล้วว่าเราจะเริ่ม Move ไป Beauty Wellness อะไรตรงนี้มากขึ้นนะครับ

อยากให้พี่แท็บลองเล่าภาพกลยุทธ์โดยรวมของศรีจันทร์ที่ผ่านมาให้ฟังหน่อยครับ

ที่ผ่านมาตอนแรก ๆ ไม่ค่อยมีกลยุทธ์ครับ คือจริง ๆ ศรีจันทร์ถึงแม้ว่าจะเก่ามากถ้านับอายุกันจริง ๆ แล้วเมื่อมันเริ่มเป็นธุรกิจแบบเวอร์ชั่นนี้ของมันมันอาจจะอายุสัก 7 ปีเองเท่านั้น เพราะฉะนั้นในช่วงแรกเหมือนทุกธุรกิจครับ เป้าหมายของเราคือรอดตายก่อน แค่นี่ก่อน ทำยังไงก็ได้ให้รอดตาย เพราะฉะนั้นช่วงแรกเราจะทำแค่นั้นเลยแหละ อะไรก็ได้ที่แบบ Survive ให้ได้ เสร็จแล้วพอเราเริ่ม Survive ได้ใช่ไหมมันเริ่มมีพื้นที่หายใจได้ เราก็จะเริ่มมาดูหน่อยซิว่าลูกค้าเราเขาพูดถึงเราว่าไงบ้าง จริง ๆ แล้ว Product ส่วนใหญ่ของเราก็มาจากลูกค้านี่แหละ คือเขาอาจจะไม่ได้บอกตรง ๆ นะ แต่ว่าเราต้องไปหาวิธีการแงะมาให้ได้ว่า Insight ของลูกค้าเรานี่คืออะไร ขั้นตอน Process จริง ๆ มันเริ่มต้นจากไม่มีอะไรเลย คุยกับลูกค้าเยอะ ๆ

พี่แท็บคุยเองเลยไหมครับ

คุยเองด้วยแล้วก็ทีมงานคุยด้วย แล้วก็ถ้าไม่ไหวจริง ๆ ก็จ้างคนช่วยคุยด้วยก็คือบริษัท Research นั่นแหละ คือก็ไม่ใช่ลูกค้าคนใช้อย่างเดียวนะ มันต้องมาจากหลายคน คนขายด้วย เจ้าของร้านพวกนี้เป็นแหล่งขุมทรัพย์ทางข้อมูลมโหฬารมาก พี่ Old Fashion นิดนึงพี่ก็จะชอบไปคุยเจอหน้าค่าตาเป็นการรักษาความสัมพันธ์ไปด้วยในตัว แล้วเราก็คุยกันแล้วเราก็จะได้ค่อย ๆ ได้ ไม่ใช่รู้ของเราคนเดียวนะ รู้ของคู่แข่งด้วยทีละนิดว่าเขาทำอะไรบ้าง แล้วเราก็กลับมาดูว่า โอเคถ้าจากข้อมูลที่เรามีแบบนี้เราอยากจะ Go Way ไหน Product เราจะ Launch Line ประมาณไหน ตรงนี้อยู่ใน Value ของเรา ต้องมี Value ก่อนว่าแบบนี้เราทำแบบนี้เราไม่ทำ เพราะฉะนั้นอย่างนี้โอเคอยู่ใน Value ของเรา เราทำได้

มี Product Line ไหนของเราที่ออกมาแล้วแป้กสุด ๆ พอจะแชร์ให้ฟังได้ไหมครับ

แชร์ได้ครับ แล้วมันมีเหตุผลด้วย จริง ๆ Product มันดีนะ แต่ว่าอย่างนี้พี่เล่าให้ฟัง หลังจากที่เรา Rebrand ตอนปี 2015 ที่เป็นโฆษณาฝรั่งนะ ที่คลิปมันเรียกว่าเป็นพลิกฟ้าพลิกแผ่นดินเลยโฆษณานั้น ตอนนั้นพี่มั่นใจมาก เด็กด้วย มั่นใจ เก่ง ตอนนั้นนี่นะไปเวทีการตลาดทุกเวทีได้รางวัลเต็มไปหมดเลยนะ มั่นใจมาก Product Launch ต่อไปที่ออกมาเป็น Product ที่ชื่อว่า Luminescence เป็นสี ๆ นะ เป็น Product ตัวเดียวที่พี่ไม่ทำ Research พี่ไม่คุยกับร้านค้า ไม่คุยกับลูกค้า คิดเองหมดเลย แล้วก็ห้าวมากด้วยไปทำที่ญี่ปุ่นก็เลยแพง เพราะเราเชื่อว่าขอให้ทำของมาให้ดีสุด ๆ เดี๋ยวลูกค้าซื้อเอง แต่เราลืมเรื่องราคาไป เราลืมเรื่องวิธีการสื่อสารไป Product ชุดนั้นถือว่าประสบความล้มเหลวอย่างมาก เสียเงินเยอะมาก ๆ เพราะว่าใช้โฆษณาเยอะใช้อะไรเยอะ Ego เยอะตอนนั้น จาก Ego นั้นเสียเงินไปหลาย 10 ล้าน ก็เลยรู้แล้วว่าไม่ได้ ต่อไปนี้ Process มันต้องเหมือนเดิม ลูกค้าก่อนแล้วค่อย Develop เก็บ Feedback แล้วก็กลับไปถามลูกค้าอีกรอบ แล้วก็ Develop เก็บ Feedback มันต้องแบบนี้ พี่โชคดีที่พี่ได้รับบทเรียนนี้ตอนที่ธุรกิจมันยังไม่ได้ใหญ่มาก ไม่รู้โชคดีหรือโชคร้าย แต่ตอนนั้นก็เป๋ไปเลยนะ บทเรียนอันนั้นเป็นบทเรียนที่พี่เล่าให้ทีมงานยุคหลัง ๆ เวลาเข้ามาพี่จะบรีฟแล้วก็จะเล่าเรื่องนั้นให้ฟังว่ามนุษย์เรา Ego มันทำให้เรามองไม่เห็นอะไรเลย อันตรายมาก

ดีครับ ดีมากเลย Story นี้ ชอบ

ตอนนี้นะผมว่าถ้าพูดถึงตลาดความเป็นเครื่องสำอาง จริง ๆ ต้องบอกคู่แข่งเยอะมาก แล้วก็เรียกว่าเป็น 1 ในผลิตภัณฑ์ที่คนเข้ามาเล่นได้ง่ายมาก มีโรงงานรับทำ OEM เรียกว่าดาราหลายคนมีแบรนด์ของตัวเองหมด เราบิดยังไง เราสู้ยังไงครับ

พี่อยู่ใน 2 ธุรกิจที่คนเข้ามาทำง่ายมากที่สุดเลย ทั้งธุรกิจ Content และธุรกิจเครื่องสำอางค์ ลักษณะจริง ๆ คล้ายกันมากเลยนะ วิธีการคิดของการว่าจะอยู่ได้ยังไง ข้อที่ 1 Consistency สำคัญมาก อย่างในกรณีของเครื่องสำอาง Consistency ของมันหมายถึง Consistency ของ Budget ด้วยนะ คือเราจะต้องอยู่ให้เขาเห็นอยู่ตลอด เขาจะไม่ซื้อวันนี้ก็ได้ แต่เราอยู่ตรงนั้นหรือเปล่าตลอด ไม่ว่าจะเป็น Media Spending ไม่ว่าจะเป็นอะไร แล้วก็นาน ๆ เราก็อาจจะมี Shoot อะไรขึ้นมาให้มันมี Impact

เพื่อให้เขาจำเราได้ แล้ววันนึงที่เขานึกถึงเรา เรายืนรอเขาอยู่ตรงนั้น

ใช่ อันที่ 2 ก็คือเราวิเคราะห์ Journey ลูกค้าอย่างสม่ำเสมอรึเปล่า น่าสนใจเพราะว่าเดี๋ยวนี้ Journey ของการซื้อของมันเปลี่ยนเยอะมากจริง ๆ แล้วมันละเอียดมากเรียกว่าแทบจะเขียนทั้งหมดออกมาไม่ได้เลยแหละ แต่ว่าเราต้องมี Journey หลัก พวกนี้เราต้องจับให้อยู่หมัดให้ได้ เครื่องสำอางที่ขายในร้านสะดวกซื้อ เครื่องที่ขายที่ร้านขายเครื่องสำอางมันมีวิธีคิดในการทำ Point of Sale ไม่เหมือนกันเลยนะ ซึ่งมันก็เกี่ยวกับเรื่อง Journey นี่แหละ

พี่แท็บลองเล่าเรื่อง Journey อาจจะยกตัวอย่างสัก 1-2 Product ของศรีจันทร์ได้ไหมครับ

คืออย่างนี้ เวลาเราคิดใช่ไหมว่าเราจะซื้อของสักชิ้นหนึ่งลูกค้าเราเขาจะซื้อยังไง คนส่วนใหญ่ก็คิด เห็น Ads แล้วก็กดซื้อจาก Ads อะไรอย่างนี้ ก็จริง อันนั้นก็มีส่วนหนึ่ง แต่บางทีมันไม่ใช่อย่างนั้น บางทีมันเป็นเพราะว่าเขาไปกินข้าวกันแล้วก็บอกว่าเธอหน้าใสจังเลยช่วงนี้ เธอใช้อะไร แล้วถ้าลูกค้าเลือกที่จะพูดชื่อเราออกมานะ เราจะได้คะแนนในกลุ่มนั่นไปเลย คำถามคือลูกค้าทำไมถึงต้องเลือกพูดชื่อเราด้วยทั้งที่จริง ๆ แล้วมันอาจจะมาจากหลายอย่าง ความเป็นจริงเวลาคนมันหน้าใสขึ้นมาไม่ได้เกิดขึ้นมาอย่างเดียวอยู่แล้ว มันมาจากหลายอย่างพร้อม ๆ กัน วิธีการก็คือทำยังไงลูกค้าจะรักเรามากที่สุด เขาจะพูดชื่อคนที่เขารักมากที่สุดออกมา เพราะฉะนั้น Activity ที่เราทำกับลูกค้าเพื่อให้ลูกค้ารักเราจึงเยอะมาก พี่ยกตัวอย่างนะครับ นโยบายของการเปลี่ยนของของศรีจันทร์ สมมติลูกค้าซื้อของไปแล้วเกิดปัญหาแตก Even แม้แต่ลูกค้าทำแตกเองเราเปลี่ยนให้ทุกเคสไม่เคยถาม เราจะขอของกลับมาบางเคสเท่านั้นกรณีที่เราอยากจะดูว่ามันมีเรื่อง QC หรือเปล่า แต่ถ้าเกิดว่ามันเป็นเรื่องปกติทั่วไปเราไม่ขอของกลับด้วย ก็คือส่งของใหม่ไปให้เลย ถามว่ามันเปลืองเงินไหมก็เปลืองเงินนิดหน่อยเหมือนกัน แต่ว่าเราทำแบบนี้อย่างสม่ำเสมอ ลูกค้า Happy ทุก ๆ เทศกาลพี่จะเขียนการ์ดหาลูกค้าอยู่เป็นประจำ เขียนการ์ดส่งของไปให้ ช่วงโควิดต้องส่งเป็นหมื่นคนเลยนะ เซ็นการ์ดกันมือหงิกเลยนะ เราจะพยายาม Keep Relationship กับลูกค้าแบบนี้และในอีกหลาย ๆ แบบที่เขาบอกว่าการสร้าง Brand Love มันผ่าน PR ผ่านด้วยหลายเรื่อง อันนี้ครับจะทำให้เรามีโอกาสอยู่ใน Journey ของลูกค้ามากขึ้น สองเก็บ Feedback สำคัญมาก เช่นเดียวกันกับธุรกิจเครื่องสำอางและธุรกิจ Content ทำเยอะทำถี่ก็ดี แต่ถ้ายูไม่เก็บ Feedback มันก็ไม่พัฒนาหรอกมันก็วนอยู่ที่เดิม เพราะฉะนั้นการเก็บ Feedback ต้องเอาขึ้นมาให้ทุกคนเห็นแล้วเอาให้ทุกคนมาดูด้วยกันว่านี่คือ Feedback และนี่คือสิ่งที่เราทำได้ดี นี่คือสิ่งที่เราทำได้ห่วย เอาไงดี มาระดมสมองกัน มาคิดกัน อย่างกรณี Content จะชัดเลย อันนี้คนไม่ชอบ ลองหลายทีแล้วอย่าฝืน

แต่ผมสังเกต Mission to The Moon ทดลองหลายอย่างมาก

ทดลองเยอะมาก แต่ว่าต้องยอมรับหน่อยว่า Content มันทดลองง่ายกว่า Product ทดลองเหมือนกัน คล้าย ๆ เราจะมี Small Batch แต่ว่าอันนี้คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นหรอกเพราะว่ามันก็จะอยู่ในกลุ่มเล็ก ๆ เเล้วเราจะให้คนสัก 1-2 พันคน Test 1-2 พันคนมันก็เป็นปริมาณ Feedback ที่เยอะพอแล้วที่เราจะบอกว่าอันนี้เนื้อไม่ค่อยดี เราคิดว่าดีแต่ลูกค้าไม่ชอบเพราะเวลาเขาไปใช้จริงแล้วมันไม่เวิร์คอะไรอย่างนี้ อันนี้เนื้อเบาไป อันนี้เนื้อหนักไป เราจะเอาพวกนี้กลับมา Develop เรื่อย ๆ ถามว่ามันช่วยให้เราแตกต่างจากคู่แข่งได้เยอะมากไหม คือคู่แข่งเขาก็ทำเราพูดจริง ๆ คือที่พี่พูดมาทั้งหมดก็ไม่ใช่ที่คนอื่นเขาไม่ทำกันหรอก เพียงแต่ว่าเนื่องจากตลาดมันใหญ่และก็โต เวลาตลาด Sizing มันใหญ่แล้วมันยังโตอยู่ การมีคู่แข่งเข้ามามันพอมีพื้นที่ให้ทุกคนอยู่ได้ แล้วเราก็ต้องรักษาแฟนของเราให้แน่น ๆ แฟนเราสำคัญมากเพราะแฟนเราจะเป็นคนไปช่วยเราขายต่อบอกต่อ

นับจากวันนั้นที่ Rebrand ผมว่าคนเริ่มรู้จักพี่แท็บตั้งแต่วันนั้นแหละ ทุกคนก็เฝ้าติดตาม ศรีจันทร์ก็มีของใหม่ออกมาเรื่อย ๆ บริษัทพี่แท็บใหญ่โตขึ้นเรื่อย ๆ ตอนนี้ประกาศชัดเจนแล้วเตรียมเข้า IPO พี่แท็บกระตุ้นน้อง ๆ ยังไงครับให้มาช่วยเราปั๊มยอดทำยอด พาธุรกิจให้เติบโตขึ้น ทำยังไงให้น้อง ๆ เขา Productive กับเราได้ตลอดเวลาครับ

พี่เคยได้คำสอนที่มีค่าที่สุดตอนไปสัมภาษณ์คุณซิกเว่ คุณซิกเว่เผื่อใครไม่ทันคืออดีต CEO ของ Dtac นะครับ ตอนนี้เป็น Group CEO ของ Telenor คุณซิกเว่บอกว่าถ้ายูจำอะไรไม่ได้เลยจากการสัมภาษณ์นี้ขอให้จำ 3 คำนี้ไว้ Tight Loose Tight ซึ่งพี่จำอะไรไม่ได้เลยจริง ๆ นะ คือจำได้ 3 คำนี้จริง ๆ วิธีการบริหารทีมที่ดีที่สุดไม่ว่ายูต้องการจะ Drive อะไรก็ตามให้จำ 3 คำนี้ไว้ Tight ที่ 1 คือกำหนดเป้าหมาย ต้อง Tight แปลว่าเป้าหมายต้องไม่มีการตีความได้ คือไม่ต้องตีความ คนเดินออกมาจากห้อง 10 คนเวลาเราพูดถึงเป้าหมายไปดึงใครเข้ามาถามทีละคนต้องตอบตรงกันหมดอันนี้คือ Definition ของคำว่า Tight เพราะว่าถ้าเป้าหมายไม่ชัด เละ Loose คือวิธีการทำงาน วิธีการทำงานไม่ต้องไปยุ่งกับเขามาก ให้กรอบกว้าง ๆ ให้เครื่องมือไป ให้เขาไปหาวิธีเอง คนนึงอาจจะใช้วิธี 1234 บางคนอาจจะใช้วิธี 3421 อะไรก็ว่ากันไปแล้วแต่เขาไม่เป็นไรไม่ได้มีปัญหาอะไร Tight สุดท้ายคือวิธีการวัดผล อันนี้ต้องคมกริบเลย คุณซิกเว่บอกว่ามันมีผู้บริหารหลายประเภทที่ทำสลับกันไปหมดเลย บางคนเป็น Tight Tight Tight นี้เรียกเผด็จการ บางคนก็ Loose Loose Loose อันนี้เป็นหัวหน้าที่ประเภทที่แบบ พี่อยากได้อะไรครับ พี่ก็มารู้เหมือนกันไปคิดมาละกันอย่างนี้ ไม่ดีนะ คือคุณซิกเว่บอกว่าคำว่าให้ Autonomy ในการทำงานมันคือตรงกลางเท่านั้น ยไม่สามารถให้ Autonomy ในการไปคิดเป้าหมายได้ Autonomy มีในตอนคิดแต่เมื่อตกลงกันแล้วมันต้องนิ่งละไม่งั้นคนมันจะเป๋ไปเป๋มา

ซึ่งจริง ๆ ก็ต้องบอกว่าอันนี้ก็ Align กับหลาย ๆ บริษัทใน Silicon Valley นะอย่าง Netflix เขาก็จะ Freedom and Responsibility คือคุณมีอิสระในการคิดแต่คุณต้องรับผิดชอบเป้าที่เราคุยกันแล้วคุณก็ต้อง Deliver Result ให้ได้ตามนั้น

ไหน ๆ เรามาเรื่อง Productivity แล้วครับ พี่แท็บเริ่มคำนี้ครับ ทั้งประเทศไทยต้องตื่นเต้นกับ Super Productivity ของพี่ น้องเขาส่ง Script บรีฟผมนี่เขาส่งวิดีโอพี่ทำ Sixpack มาให้ผมดูด้วย จากวันนั้นจนวันนี้ครับผม ตอนนี้โลกเปลี่ยนไปเยอะ โควิดเข้ามา แนวคิดในเรื่องของการทำงานหลาย ๆ อย่างเปลี่ยนไป หลายคนเริ่มเรียกว่า Anti-Productivity ทุกคนเริ่ม Burnout ทุกคนเริ่ม Quiet Quitting ทุกคนเริ่มไม่ค่อยอยากจะ Productive แล้ว ตอนนี้มุมมองของพี่แท็บในเรื่องนี้เปลี่ยนไปยังไงบ้างครับ

มันจะมีความซับซ้อนนิดนึง พี่จะพยายามค่อย ๆ คลี่ให้ฟังว่าพี่คิดเรื่องนี้ยังไง คือคำว่า Productive ของพี่ยังคงเหมือนเดิมนะ Productive คือการสร้าง Value สูงที่สุดในการใส่ทรัพยากรลงไปให้น้อยที่สุด นั่นหมายความว่าคน Productive ไม่ใช่คนที่นั่งทำงานอยู่ออฟฟิศถึงเที่ยงคืนอะไรแบบนี้ไม่ใช่

อันนี้เป็นอันแรกที่ต้องชัดก่อนนะว่า Productive ไม่ได้แปลว่าต้องทำงานหนัก

ไม่ใช่ คือ Value เยอะสุด แรงน้อยสุด พี่คิดว่าก็ยังคงเป็นเหมือนเดิม Concept อันนี้ยังคงอยู่ เพียงแต่ว่าวิธีการ Execute จริง ๆ แล้วมันน่าจะยิ่งทำให้คำนี้มีความหมายกว้างไกลมากยิ่งขึ้นด้วยนะ เพราะตั้งแต่มีโควิดทำให้เราสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ รูปแบบการทำงานก็ไม่เหมือนเดิมใช่ไหมครับ ยกตัวอย่าง พี่รู้สึกว่าพี่ Heal ตัวเองจากการ Burnout พวกนี้ด้วยการไปอยู่ต่างจังหวัดนาน ๆ ทีนึง 2-3 อาทิตย์ แล้วหลายคนก็ทำแบบนี้ แล้วก็ทำงานนะไม่ได้ไม่ทำงาน มันช่วยมากเพราะว่าเวลาไปอยู่ต่างจังหวัด ชีวิตมันจะเป็นแบบนี้ ตื่นเช้ามาออกกำลังกาย ทำงาน เสร็จปุ๊บ 6 โมงเย็นมันตัดโลกออกเลย แต่ถ้าในสมัยก่อนถ้าทำแบบนี้ก็คือต้องลาพักร้อนถูกไหม แต่ว่าตอนนี้เราสามารถทำงานไปด้วยได้และ Heal ตัวเองไปด้วยอีกหนึ่ง Process ได้ด้วย ซึ่งพี่มีความรู้สึกว่ามันดีกว่าสมัยก่อนอีก ขอบคุณการประชุมทางไกล เพราะถ้าเกิดไม่มีการประชุมทางไกลแบบนี้เราคงไม่สามารถทำอะไรแบบนี้ได้เลยจริง ๆ เพราะว่าสมัยก่อนให้มานัดประชุม Zoom คงไม่มีใครมาคุยด้วยจริง ๆ นะ อีกเรื่องหนึ่งก็คือว่า Priority ของพี่ก็เปลี่ยนไปอันนี้จะเป็นมุม Productive อีกมุมนึง ในอดีตบอกตรง ๆ เลยนะ คือต้องการหาเงินมากที่สุด คือทุกอย่างจะคิดแต่เรื่องเงินใช่ไหม พอเจอโควิดเข้าไปประกอบกับช่วงโควิดมีเพื่อนเสียไปหลายคนตอนนั้น แล้วเราก็รู้สึกว่าไม่มีประโยชน์ที่จะทำงานหาแต่เงินแล้วไม่ได้ดูแลด้านอื่น พี่เลยปรับ Priority ของชีวิตใหม่ คนเรามันมีอยู่ 4 ขาครับต้า พี่คิดว่านะมันมี 4 ขา ขาที่ 1 คือ Health ขา 2 คือ Wealth ก็เกี่ยวกับเรื่องทำงาน เรื่องตังค์อะไรทั้งหลายนะ ขาที่ 3 คือ Relationship ขาที่ 4 คือ Self สมัยก่อน Health หลายคนมักจะถูกผลักไปอยู่ใต้ ๆ ล่างสุด แต่ตอนนี้พี่บนสุดเสมอ คือสมมุติว่าเย็นนี้ลูกน้องพี่บอกว่าพี่ขอนัดประชุมหน่อย 5 โมงครึ่งแบบมีเรื่องด่วนมากเลยพี่ ด่วนขนาดไหนพี่จะไปวิ่ง ถ้าไม่ด่วนมากคอขาดบาดตายพี่จะไปวิ่ง ไม่ประชุม คือไม่อย่างนั้นเราก็ไม่จบ คือถ้าให้ Priority มันนะเราก็จะมีเวลาให้มันเสมอ ที่เขาบอกว่าไม่มีใครไม่มีเวลานะ เพียงแต่ว่าเรื่องที่คุณไม่ได้ทำ ที่คุณบอกไม่มีเวลาจริง ๆ มันไม่สำคัญสำหรับคุณก็เลยไม่ทำแค่นั้นแหละ Relationship ก็เหมือนกัน บางทีเรารู้สึกว่าคนวัยนี้ส่วนใหญ่มันจะบ้างาน ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน คือสิ่งยึดโยงที่สุดที่เรารู้สึกว่ามันมีค่าตัวกับเราที่สุดมันคืองาน สำหรับคนส่วนใหญ่นะไม่ได้พูดถึงว่าทุกคนนะ เราก็เลยให้เวลากับพวกนั้นเยอะมากจนลืมเรื่อง Relationship ไปบางที บางทีพ่อแม่จะคุยด้วยอย่างนี้ ยุ่งประชุมอยู่ โอเคแหละถ้าประชุมอยู่ก็ประชุมไป แต่มันก็จะมีบางจุดที่เราทำเกินพอดีไป ต้าลองถามเพื่อนก็ได้ในรุ่น ถามว่าจริง ๆ ทำงานน้อยกว่านี้ได้ไหม เชื่อไหมว่าคนส่วนใหญ่ตอบว่าได้ แต่ที่ทำนี่เลือกเองทั้งนั้น เพราะรู้สึกว่าเรามีคุณค่า

เราเสพคุณค่าจากการทำงานจนเราลืมคุณค่าจากแกนอื่น ๆ ที่เป็น Health เป็น Relationship แล้วก็ตัวเอง

Self นี่สำคัญที่สุดเลย Self นี่คือพวกจิตวิญญาณนะ คือเรียนรู้โลกภายในของเรา ไปวิปัสสนา บอกว่าไปวิปัสสนา 10 วัน คนแบบไม่มีทางหรอกพี่งานมันยุ่งใช่ไหม แต่จริง ๆ ถ้าเทียบความสำคัญกันแล้วจริง ๆ มันน่าจะสำคัญกว่านะ เดี๋ยวนี้พี่จะเริ่ม Balance พวกนี้เยอะมาก เพราะฉะนั้นต้องยิ่ง Productive กลับมาที่เรื่องเดิม เพราะเราจะเอาเวลาไปทำอย่างอื่นด้วยใช่ไหม แปลว่าเวลาที่เราทำงานทุกนาทีต้อง Productive มาก ๆ ต้องเปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่ให้ Productive ขึ้นไปอีก ยกตัวอย่าง เดี๋ยวนี้มันมี Tools ใช้เยอะ Chat-GPT นี่พี่คุยทุกวัน แล้วพี่ก็เริ่มเข้าใจว่า ยกตัวอย่างเช่นสมมติว่าทำยังไงให้มันเขียนดี ก็คือถ้าเกิดถามมันเพลน ๆ มันก็จะตอบเพลน ๆ แต่ก็บอกว่า Pretend You are an Expert แค่พิมพ์ประโยคนี้นะมันก็จะเก่งขึ้นมาหน่อยนึง แล้วพอเราทำบ่อย ๆ มันประหยัดเวลาเรามากเลย หลายอย่างตอนนี้พี่ใช้ Chat-GPT ทำเลยแหละเวลาอธิบายงานลูกน้องอย่างนี้นะ แต่ก็ต้องตรวจความถูกต้องนิดนึงนะบางทีมันก็เพี้ยน ๆ ได้ แปลว่าเราใช้เวลา 1 ชั่วโมงเหมือนเดิม แต่ว่า Output เยอะขึ้น

Keyword ผมว่าน่าจะเป็นเรื่องของการหาสมดุล จาก 4 ขาเมื่อกี้ของพี่แท็บ Health, Wealth, Relationship, Self มันไม่ใช่ Wealth อย่างเดียวทำงานหาเงิน คนส่วนใหญ่มัวแต่ Value สิ่งนี้จนลืมvอันอื่น ทั้งที่จริง ๆ อันอื่นมันก็เติมเต็มเราได้ แล้วถ้าเราอยากให้งานได้ผลดีด้วยแล้วมีเวลาทำอย่างอื่นด้วยจริง ๆ แล้วเราต้อง Productive มากขึ้น ทุกนาทีทุกวินาทีที่เราลงกับงานทำยังไงให้เราได้ Output มากที่สุด และเราจะได้มีเวลาไปทำอย่างอื่นนะครับ ซึ่งตอนนี้แล้วกันที่อาจจะเด็ก ๆ น้อง ๆ คนทำงานหลายคนกำลัง Suffer มันคือฉัน Productive แล้ว และฉันก็ยังอยากได้เวลาของฉันมากขึ้นอีก และฉันก็อยากจะ Productive ตลอด 24 ชั่วโมง สุดท้ายพอแกนอื่น ๆ มันหายไปมันก็ส่งผลกระทบกับเขาในระยะยาว

พี่มี Tips นิดนึงครับอยากจะแชร์น้อง ๆ คือมันเป็นเรื่องที่ Basic มากแต่ว่าอยากให้ลองทำดู ทุกวันนี้เราอยู่กับ Screen ตั้งแต่ตื่นจนหลับเลยนะลองคิดดูดี ๆ นะ มือถือปลุก เราเอามันมาปิดใช่ไหม เสร็จแล้วมันจะมีช่วงเวลาที่คนส่วนใหญ่ใช้เรียกว่าประกอบร่าง ไถดูวันนี้มีอะไรบ้าง ตาเปิดข้างหนึ่งอยู่นะ เสร็จปุ๊บลุกขึ้นมาหยิบนาฬิกามาใส่ นาฬิกาก็ Smart Watch นี้ก็ Screen นะ อยู่ในห้องน้ำห้องครัวตอนเช้าหลายคนก็จะมี Tablet เดินถือไปด้วย ตั้งดูข่าวดูอะไรก็ว่ากันไป ขึ้นรถ รถเดี๋ยวนี้ก็เป็น Screen สมัยก่อนรถไม่ค่อยมีอะไร เดี๋ยวนี้รถจอใหญ่อย่างนี้เลย ถ้าพีคหน่อยมี Microsoft Team ประชุมได้อีกไปกันใหญ่เลยนะ ถึงออฟฟิศไม่ต้องพูดถึงเลย Screen ทั้งวัน พักก็ Screen ข้าวเที่ยงก็ Screen กลับบ้านตอนเย็นดู Netflix แล้วก็นอนไปพร้อมกับโทรศัพท์ แน่นอนครับมันมีประโยชน์เยอะ แต่สิ่งที่หายไปคือช่วงเวลาที่มีสมาธินิ่ง ๆ กับเรื่องอะไรบางอย่างซึ่งสำคัญมาก เราลองไปดูคนที่เขาประสบความสำเร็จมาก ๆ ช่วงเวลานี้คือช่วงเวลาที่อาจจะไม่ได้มีเยอะใน 1 วัน แต่มันคือช่วงเวลาที่ Produce 80-90% ของ Result ยกตัวอย่างง่าย ๆ นักเขียน ถ้านักเขียนไม่มีช่วงเวลานี้จะไม่มีงานที่มีคุณภาพ คำถามคือทำยังไงดี แนะนำแบบเป็นรูปธรรมเลยนะครับ และนี่คือสิ่งที่พี่ทำจริง ๆ อันดับแรกพี่ตกลงกันทั้งบริษัทซึ่งมันเป็นกติกาสากลพี่ไม่ได้คิดเองนะ Email อายุ 24 ชั่วโมง แปลว่าส่ง 10 โมงเช้าวันนี้ตอบก่อน 10 โมงเช้าวันพรุ่งนี้ถือว่ายังไม่สาย อายุของแชท 2-3 ชั่วโมงกติกาสากล แปลว่าพิมพ์ตอนนี้เดี๋ยวค่อยตอบก็ได้ สิ่งที่ต้องตอบเลยหรือควรตอบเลยคือเวลาเขาโทรมา อันนี้คือด่วนใช่ไหม เพราะฉะนั้นมือถือพี่จะเปิด Notification แค่ 2 อย่างเท่านั้น คือ SMS กับโทรศัพท์ นอกจากนี้พี่ปิดเข้า Do not Disturb หมดแล้วก็มีเหมือนกันนะบางทีนะ ถ้าเกิดจะเอาสมาธิจัด ๆ 2 อันนี้ถือว่าเพียงพอแล้ว ที่เหลือนะครับ Microsoft Team พี่ก็ไม่เปิด Notification, Email ก็ไม่มี Notification ไม่มี Notification อะไรเลย ไม่ต้องพูดถึง Social Media ไม่มีเลย ใน Computer ก็เหมือนกัน เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นพอเป็นแบบนี้ถึงเวลาแปลว่าพี่เช็คอีเมลวันละรอบ 3 โมง ช่วงที่สมองมันเริ่มแบบเบลอ ๆ แล้วพี่เช็คอีเมล เช็คที่เป็น Batch เช็คหมดเลยรวดเดียวจบ แชทก็เช็ค อาจจะเช้าครั้ง เทียงครั้งบ่ายครั้ง เย็นครั้ง ตอบทีเดียว เราต้องทำให้ตัวเองมีสมาธิให้มากขึ้น โจทย์มันมีอยู่แค่นี้

จริง ๆ ผมคล้ายพี่แท็บเลย ผมปิด Notification เกือบทุกอย่าง ผมว่าช่วยได้เยอะสิ่งที่มันช่วยเราคือผมเรียกเป็น Switching Cost คือถ้าเราตอบ Message ทุกครั้งและอีกคนมาอีกช่องนึงมันเหมือนเราต้องคิดเรื่องใหม่จนถึงจุดหนึ่งตอนที่ผมปิดทุกอย่างคือเหมือนตัวเองเป็นปลาทองแล้ว เหมือนรู้ว่าเมื่อกี้จะทำอะไรสักอย่างแล้วมันเริ่ม Track ไม่ได้แล้ว ตอนนี้ปิดทุกอย่างเลยครับ ทำเป็น Batch ดีครับ

มันมีทฤษฎีอยู่เหมือนกันนะครับต้าเขาบอกว่า คำว่า Multitasking ไม่มีอยู่จริง เวลาเรา Multitasking เราทำอันนี้แล้วหยุดทำอันนี้แล้วเริ่มอันใหม่ แต่ทุกครั้งที่เริ่มต้นทุนของการ Start เรื่องให้มันใช้เวลาเยอะ

มันมี Starting Time พอเรา Switch เยอะ ๆ แปลว่าเราก็จะเสียเวลากับ Starting Time เล็กน้อยตลอดวัน เห็นด้วยเลยครับดีมาก ๆ วันนี้เราได้ฟังหลายเรื่องราวจากพี่แท็บเลยนะครับตั้งแต่เส้นทางการทำธุรกิจนะครับมาจนถึงการบริหารองค์กรรวมไปถึงแนวคิดเรื่องของการมีชีวิตที่ดีขึ้นนะ ทำงานได้ดีขึ้น Productive แต่ว่ายังมีชีวิตที่ดี สุขภาพที่ดี Relationship ที่ดีแล้วก็ดูแลตัวเองไปด้วยนะครับ

ตอนนี้นะผมแอบได้ยินมานะครับ Mission to The Moon กำลังจะมีงานใหญ่ประจำปีนะครับ Mission to The Moon Forum 2023 ซึ่งปีนี้ต้องบอกว่าน่าสนใจมากเพราะมาในธีม Work Life Improvement เราไม่ได้จะมาให้ทุกคน Productive อย่างเดียวแล้วนะ ให้ทุกคนปรับสมดุลตัวเองกลับมาดูในเรื่องของชีวิตด้วยนะครับ ให้พี่แท็บเล่าถึง Event นี้หน่อยครับผม

ก็ Event นี้ก็เป็น Event ใหญ่นะครับ แล้วก็คือจริง ๆ Concept ก็คือว่าเหมือนที่คุยกันวันนี้แหละ ทำงานยังไงให้ดีขึ้น ชีวิตยังไงจะดีขึ้น แล้ว 2 อย่างนี้กระดูกที่เชื่อมกันอยู่มันมีอะไรบ้าง แล้วเราจะทำยังไงให้ทั้ง 2 ขาไปด้วยกัน ในนั้นก็จะพูดถึงหลายเรื่องครับ ตั้งแต่แนวคิดเรื่องการทำงานอะไรที่เราคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วก็จะมาอัพเดทต่าง ๆ แต่พี่จะมีอีกฟากหนึ่งที่เป็นเรื่องของกินอาหารยังไงให้สมองดีด้วย ผอมด้วย อะไรเป็นสิ่งที่ควรทำใน Environment ที่ต้องบอกว่าเราอยู่ในสภาพที่มี Toxin เยอะ ทำยังไงเราจะ Survive Environment แบบนี้ได้นะครับ แล้วก็ Tips ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอน การออกกำลังกาย มันมีศาสตร์ใหม่ ๆ เกี่ยวกับเรื่องพวกนี้เยอะ เนื่องจากว่าเราไม่ได้อยู่ในวงการนี้ใช่ไหม เราก็ไม่ค่อยรู้ พี่ก็จะไปเอาคนที่เขาอยู่ในวงการนี้จริง ๆ เช่น คุณหมอที่ดูแลโภชนาการนะ เดี๋ยวนี้พี่ไปหาหมอบ่อยมาก ไม่ได้เป็นอะไรนะ คือไปให้เขาดู ยกตัวอย่างเช่น เขาบอกว่า 10 ปีที่ผ่านมาเราศึกษาเรื่อง DNA เยอะมาก แต่ต่อจากนี้ 10 ปีต่อจากนี้เรื่องที่เราศึกษากันเยอะคือเรื่องจุลินทรีย์ครับ จุลินทรีย์ในลำไส้ของเราอะไรพวกนี้มันส่งผลต่อความสุขของเรายังไงบ้าง ส่งผลต่อสมองเรายังไงบ้าง มันเกี่ยวกันหมดเลยนะ ตอนที่เราจัดงานนี้ตอนที่เราเรียงขึ้นมาเราเห็นได้เลยว่ามันไม่มีอะไรแยกกันเลย ของที่เรากินที่ออฟฟิศส่งผลต่อ Efficiency ในการทำงานทันทีเลยนะ มันเกี่ยวกันอย่างน่าอัศจรรย์

ดีครับ เพราะฉะนั้นถ้าเรากินดี หลับดี ชีวิตมีความสุข จริง ๆ ก็กลับมาเรื่อง Productivity มันก็ทำให้การทำงานของเราดีขึ้น ก็เป็นอีกหนึ่งงานที่น่าสนใจนะครับ ก็ยังไงเดี๋ยวฝากทุกท่านติดตาม Event นี้ไปด้วยนะครับ เดี๋ยวน่าจะเจอกันครับผมก็น่าจะไปแจมด้วยนะครับ ก็วันนี้ขอบคุณพี่แท็บมาก ๆ ที่สละเวลามาคุยกันนะครับ เชื่อว่าเป็นประโยชน์กับผู้ฟังรายการ Chief’s Table ของเรามาก ๆ ขอบคุณมาก ๆ ครับ สวัสดีครับ

อ่านเพิ่ม
Transcript

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านกลับเข้าสู่รายการ Chief’s Table อีกครั้งนึงนะครับ วันนี้เรามาพูดคุยกับแขกรับเชิญคนพิเศษครับผม คุณแท็ป รวิศ หาญอุตสาหะ CEO ของศรีจันทร์และ Mission To The Moon วันนี้เดี๋ยวเราจะมาชวนพี่แท็บนะครับคุยกันหลาย ๆ เรื่องเลย เรื่องแรกก็น่าจะเป็นเรื่องของการทำธุรกิจนะครับจากการที่พี่แท็บเข้ามาช่วย Transform จากศรีจันทร์ดั้งเดิมที่เป็นธุรกิจของครอบครัวให้กลายเป็นธุรกิจที่ใหญ่โตประสบความสำเร็จจนตอนนี้ตั้งเป้าที่จะ IPO เร็ว ๆ นี้ด้วยยอดขายกว่า 1,500 ล้านบาท นอกจากนี้นะครับได้พี่แท็บมาแล้วก็คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้นะครับที่จะต้องชวนพี่แท็บคุยกันในเรื่องของ Productivity หลังจากโควิดที่ผ่านมาครับตอนนี้หลาย ๆ คนเริ่มมีความคิดที่เปลี่ยนไปนะครับ หลายคนเริ่ม Anti Productivity เราก็เริ่มคิดว่าตกลงเราจะต้องขยันไปขนาดนั้นเพื่ออะไรนะครับ เดี๋ยววันนี้จะมาฟังจากปากพี่แท็บกันครับว่ามุมมองในเรื่องนี้ของพี่แท็บเปลี่ยนไปอย่างไรในรอบหลายปีที่ผ่านมา ถ้าพร้อมแล้วเรามาพบกับพี่แท็บกันเลยครับ พี่แท็บสวัสดีครับ

สวัสดีครับต้า สวัสดีครับ

จริง ๆ ต้องบอกว่าเรามีโอกาสเจอกันทานข้าวกันอยู่ทุกเดือนนะครับ

ปกติเราก็คุยกัน Informal นะสนุก ๆ

วันนี้ก็มาจริงจังนิดนึงนะครับ วันนี้เดี๋ยวชวนพี่แท็บคุยหลาย ๆ เรื่องเลยนะครับ อยากจะให้ผู้ชมได้รู้จักพี่แท็บมากขึ้น แล้วก็เดี๋ยวเราจะค่อย ๆ เข้ามาในเรื่องของการทำงาน เรื่องของการใช้ชีวิตนะครับ

ก็ก่อนอื่นอยากให้พี่แท็บแนะนำตัวนิดนึงครับผมว่าเรียนอะไรมา ไปทำอะไรมา ก่อนที่จะมาเป็น CEO ของศรีจันทร์ครับผม

ก็เรียนจบวิศวะจุฬา เรียนไฟฟ้า แล้วก็พี่ Entrance น่าจะเป็นปีไม่สุดท้ายก็ก่อนสุดท้าย ยังไม่มี GAT, PAT อะไรพวกนี้นะสมัยนั้น ก็เรียนจบวิศวะไฟฟ้ามา ตอนเลือกแน่นอนไม่รู้ว่าตัวเองอยากเรียนอะไร แต่พอเรียนไปแล้วรู้ว่าอันนี้ไม่อยากเรียน ก็เลยพยายามไปหาทางทำงานสายอื่น แต่ก็พอเรียนวิศวะมาก็เลยอยากให้มันดูใกล้เคียงนิดนึงก็เลยเป็น Sale Engineer ก็คือเป็นวิศวะที่ขายของแหละ จริง ๆ ขายของมากกว่างาน Engineer นิดหน่อยหน่อย แล้วก็ขายเกี่ยวกับพวกนี้ อุปกรณ์ Network, IT อะไรพวกนี้ให้มันตรงกับที่เรียนมาสักหน่อย ทำงานไปสักพักหนึ่งก็รู้สึกว่า คือช่วงนั้นใคร ๆ ก็ต้องไปเรียนต่อ คือมันจะมีเป็น Format ทำงานสัก 3 ปี ไปเรียนต่อปริญญาโท จบ Finance กลับมาคราวนี้ชอบแล้วเพราะว่าเลือกเอง เริ่มรู้แล้วว่าเรียนอะไรสนุก ก็มาอยู่ Bank สัก 3-4 ปีนะ ช่วงนั้นเป็นช่วงเวลาที่ดีมากครับเพราะว่ามันเป็นช่วงเวลาที่เราได้อยู่ใน Corporate ขนาดใหญ่ พี่อยู่ Citibank ธนาคารมันก็มี Format แบบ American Bank นะทุกอย่างมันก็จะเป๊ะ ๆ แล้วคนก็จะ Competitive มาก คือ Culture เขาเน้น Competitive เป็นหลัก เราก็จะรู้สึกว่าเราตื่นตัวตลอดเวลา คืออยู่เฉย ๆ ไม่ได้เพราะว่าทุกคนบี้กัน คือธุรกิจศรีจันทร์พี่ไม่รู้เลยว่าเขาทำอะไรกันต้องบอกเพราะคุณพ่อไม่ได้ทำก็เลยไม่เคยรู้ รู้แต่ว่าเป็นธุรกิจของคุณปู่แค่นี้แหละ รู้แค่นี้ แล้ววันนึงก็มาที่ศรีจันทร์มารับแกเพราะว่าแกป่วย คือแกไปทำงานทุกวันแก 80 กว่าละ แกต้องไปโรงพยาบาลอะไรสักอย่างแล้วก็ไม่มีใครว่างพี่ก็เลยขับรถไปรับ แล้วพอเราไปดูเราก็รู้สึกว่าเสียดายถ้าไม่มีใครทำต่อ เพราะว่าถ้าเกิดคุณปู่แก 80 กว่าแล้ว แกคงทำได้อีกไม่กี่ปีหรอก ถ้าไม่มีใครทำต่อมันก็คงจะค่อย ๆ หายไปอะไร ก็เลยไปคุยกับนาย นายนี่สำคัญมากเลยนะไปคุยกับนาย นายพี่เขาก็นั่งคิด แล้วอยากลองทำธุรกิจที่บ้านเหรอ เขาบอกว่าก็ไปทำสิเพราะว่าถ้าเกิดไม่เวิร์คก็ไปทำปีนึง ไม่เวิร์คก็กลับมาสมัครงานใหม่ มาสมัครงานที่นี่ก็ได้ ถ้าเกิดพี่ยังอยู่เดี๋ยวพี่รับ แค่นั้นแหละก็เห็นทางสว่างเลยว่าจริง ๆ มันง่าย ๆ เลย ก็เลยไปลาออกเลยวันรุ่งขึ้น พอนายบอกอย่างนี้ก็คือลาออกเลย คือตอนแรกเราก็แบบ เพราะเราก็รักงานที่ Bank เหมือนกันเพราะ Bank มันเป็นงานที่สนุกแล้วเราก็ตั้งใจจะโตในสายนี้ด้วย แต่ออกมาพอทำเราก็รู้สึกว่าทำงานของตัวเองเหนื่อยกว่าเยอะเลยโดยเฉพาะบริษัทที่มันขนาดเล็กมาก เราเคยอยู่ในองค์กรขนาดใหญ่ที่เราทำแค่ Function นี้เราก็โยนตัวนี้ต่อไปไม่รู้หรอกมันเกิดอะไรขึ้นแต่รู้ว่าเดี๋ยวเราเสร็จแล้วมันจะเสร็จ พอมันเป็นองค์กรขนาดเล็กพี่ทำทุกอย่างจริง ๆ แล้วก็ตอนนั้นบริษัทไม่มีระบบอะไรเลยไม่มีคอมพิวเตอร์ เพราะฉะนั้นงานแรกของพี่ก็คือเอาทุกอย่างขึ้นมาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ให้ได้ จริง ๆ ช่วงนี้เป็นช่วงที่โชคดีนะเพราะว่าได้เรียนรู้ครับว่าจริง ๆ แล้วใน 1 ธุรกิจตั้งแต่ต้นจนจบมันมีอะไรบ้าง เพราะว่าต้องทำทั้งหมดทุกอันเลย บัญชี จัดซื้อ ครบถ้วนเลย สิ่งที่ช่วยพี่มากเลยตลอดการทำงานคือ Excel นี่พูดจริง ๆ เพราะว่ามันเป็นวิธีการคิด Logic ที่ดีมาก แล้วก็จริง ๆ แล้วเราสามารถรันธุรกิจบน Excel ได้นะถ้าธุรกิจไม่ได้ใหญ่มาก ก็เลยรู้สึกว่าโปรแกรมนี้ทุกครั้งเวลาพี่พูดกับใครพี่จะบอกว่าขอบคุณคนที่คิดโปรแกรมนี้นะ เพราะว่ามันช่วยให้เราเอาของที่อยู่ในสมองออกมาเป็นตัวเลขได้จริง ๆ

ไม่ว่าจะเป็นรายงาน Report ใช่ไหม ตัวเลขบัญชี ทำทุกอย่างได้ จริง ๆ ผมเห็นหลายบริษัทเอา Excel ทำพวกฟอร์มจดหมายอะไรก็ Excel หมด

ทุกอย่าง ทำได้หมด ทำได้เยอะจริง ๆ แล้วมันก็แก้อะไรง่าย แต่โอเคเดี๋ยวนี้มันมีอะไรที่มันดีกว่าแล้วแหละ ในสมัยก่อนมีคนถามว่า Skill Obsolete เป็นไง พี่บอกนี่ไง สมัยก่อนพี่ภาคภูมิใจในความสามารถ Excel ของพี่มาก พี่ทำพวก Report โชว์ Dashboard อะไรนี่นะพี่ทำด้วย Excel หมดเลย แต่ตอนนี้สู้ Power BI ไม่ได้หรอก คือเสียเวลาสู้กับมัน ให้มันทำเหอะ

ใช่ทำใน Excel ถ้าใครพอรู้เราต้องมา Pivot Table อะไรเองก่อน Power BI มันลากวาง

เพราะฉะนั้น Skill ที่เราเคยภูมิใจมากวันนี้ก็เรียกว่าไม่ได้ใช้แล้วนะ

แต่ต้องบอกว่าก็ยังต่อยอดได้ง่ายอยู่

ใช่ แต่มันก็คือสามารถอธิบาย Logic ได้

จริง ๆ เมื่อกี้มีอีกประเด็นนึงที่จริง ๆ ผมชอบนะ ก่อนลาออกพี่แท็บไปคุยกับหัวหน้า หัวหน้าน่ารักมากเลย ก็ไปสิ ถ้ามันไม่เวิร์คก็กลับมา ซึ่งหลาย ๆ ครั้งเด็ก ๆ เขาก็จะคิดเยอะอะไรยังไงดี แต่หลายครั้งมันดูเป็นเรื่องง่ายมากเลยก็แค่ไปคุยกับหัวหน้า เดี๋ยวเขาช่วยแนะนำเราได้ เขาก็รู้จักเราดีประมาณนึงว่าเราทำอะไรได้ทำอะไรไม่ได้

โอเค พี่แท็บก็เป็นคนหนึ่งที่เรียกว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเลยแล้วกันในเรื่องของ Marketing นะครับ แล้วเรื่องของเทคโนโลยีที่เอามาใช้ในเรื่องของ Marketing ในงานขายของเราพี่แท็บทำอะไรยังไงบ้างครับ

ในเชิงของ Marketing จริง ๆ สิ่งที่มันเปลี่ยนไปเยอะจริง ๆ เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งนะ แต่ว่าในเชิงของตัววิธีคิดอันนี้เปลี่ยนเยอะมาก เมื่อสักประมาณพี่ว่า 6-7 ปีที่แล้วไม่เกินนี้ เวลาเราคิด Product ขึ้นมาเอาแบบเต็ม Loop เลยนะ เราจะเริ่มต้นจากการไปจ้าง Research Agency มาก่อนนะครับ เขาก็จะทำ Focus Group, Qualitative Research อะไรแบบนี้นะครับ เอาข้อมูลมา แล้วเราก็มานั่งคิดกันโอเค Product จะออกแบบนี้ เสร็จปุ๊บเอา Agency มา Pitch งาน Pitch งานเสร็จถามว่าใครเลือกว่าจะพูด Product แบบไหนเพราะ Product มันวิธีการพูดได้หลายแบบนะครับ คนเลือกก็นั่งอยู่ในห้องนั่นแหละ CEO, Agency, Creative ก็นั่งสุมกันอยู่ประมาณ 10 คนแล้วก็เคาะเอาบอร์ดนี้ เสร็จแล้วทุกคนก็โอเคไปทำถ่ายหนัง สมัยก่อนถ่ายหนังแพงมาก เรื่องนึงเฉลี่ยประมาณ 5 ล้านที่ทำมา เดี๋ยวนี้ไม่มีใครถ่ายแล้ว เดี๋ยวนี้ล้านนึงโคตรแพง ทีนี้ถ่ายทุกอย่างเสร็จ Key Visual เสร็จ ถ้าใน Process พอร์เซตนี้มีตังค์ก็จะมีดารามาด้วย ถ้าไม่มีตังค์ก็ไม่มีดารา ตังค์เยอะหน่อยก็มีดารา ดารายิ่งดังก็จะยิ่งมีโอกาส เสร็จแล้วก็จะต้องไปจองหนังสือพิมพ์ไทยรัฐหน้าหลังจำได้เลย

เต็มหน้า ต้องจองแบบเต็มหน้า

จองได้นี้เรียกว่าแทบจะปิดบริษัทฉลองเพราะมันจองยากมาก เสร็จแล้วเราก็ไปหาร้าน เฮียครับ Product ออกใหม่ขอหัว Shelf นะ เดี๋ยวขอตั้ง Standee ตั้งกองนะ ก็เจรจากันไปเสร็จวัน D-Day พร้อม Launch หลังจากนั้นทำอะไรไม่ได้เลยนะนอกจากสวดมนต์ จริง ๆ เพราะว่ากว่า Feedback จะมา 2-3 เดือน พี่ใช้คำว่า Hope for The Best ทุกครั้ง แต่ว่าเดี๋ยวนี้ไม่ได้ทำแบบนั้นแล้ว สิ่งที่เปลี่ยนไปเยอะมากเลยคือคนตัดสินใจครับ สมัยก่อนทุกอย่างตัดสินใจในห้องประชุมหมด เรียกว่าเกือบ 100% ข้อมูล Research เป็นเพียงข้อมูลประกอบเล็ก ๆ บางทีไม่อ่านด้วยซ้ำ คือบางทีไม่สนใจ ไม่เอาดีกว่า ยุคนี้มาใหม่ สมมติบอกว่าพี่ทำ Skincare Product Line ขึ้นมาอันนึง คุยกันว่า Skincare ตัวนี้มัน Approach ใดได้บ้าง ทีม R&D เขาก็จะบอกว่ามันมี Approach แบบ Scientific พี่ คือเล่าเลย ลดริ้วรอย 64 ประการใน 7 วันอะไรแบบนี้ อารมณ์แบบนี้นะครับ มีสารบลา ๆ อะไรแบบนี้นะ โฆษณาต้องมีคนใส่ชุดขาว อันนี้ก็เป็น Way หนึ่ง หรืออีก Way นึงคือเล่าอารมณ์แบบ Story Telling นักวิทยาศาสตร์ของเรานะไปที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ญี่ปุ่นแล้วก็ไปเจอคุณป้าทำสาเกอยู่ คุณป้านี้หน้าเหี่ยวตามวัยแต่มือตึงเหมือนสาว ๆ เลย ก็เลยสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นก็เลยไปดูที่สาเก สาเกนั้นมีสารที่ทำให้ผิวย้อนวัยได้ ก็เป็น Pitera Essence ที่อยู่ใน SK-II อันนั้นคือตัวอย่างเป็นต้นนะครับ ทั้ง 2 อันนี้จริง ๆ มันคือ Product ตัวเดียวกันก็ได้นะ จะพูด Way ไหน 2 Way คนละเรื่องเลย ถามว่าใครจะรู้ ถ้าเป็นสมัยก่อนก็นั่งเคาะกันในห้องประชุมนี่แหละ แต๋เดี๋ยวนี้ไม่ต้อง เดี๋ยวนี้เรายิง Ads

ทำทั้ง 2 แบบเลย

หรืออาจจะ 5 แบบก็ได้ แล้วก็ดู Engagement หรือดู Parameter ต่าง ๆ ถ้าสนใจ แม้แต่กระทั่งราคาครับต้า ขายถูกไปก็ไม่ดีนะ ขายแพงไปก็ไม่ได้ ราคามันต้องตรงนี้ ทีนี้ถามว่าตรงนี้หายังไง สมัยก่อนก็ไปคุยกับร้านค้า ดูต้นทุนเรา ดูคู่แข่ง แล้วก็ประมาณนี้ละมั้ง ตอนนี้ไม่ต้องนะ เราก็ยิง Ads สมมุติอยากจะหา 5 ราคา เสร็จแล้วก็หา Intention to Buy เขาหยิบใส่ตะกร้าหรือเปล่า ใครหยิบใส่ตะกร้าเยอะที่สุดคนนั้นชนะอะไรแบบนี้ครับ มันก็เลยเปลี่ยนวิธีการทำงานหมดเลย คือตอนนี้หน้าที่ของนักการตลาดคือ Setup การทดลองพวกนี้ให้เกิดเยอะที่สุด เพราะฉะนั้น Tools มันจะมากับวิธีคิดแบบนี้ แล้วก็ขาพวกลูกค้าอันนั้นก็คือการเก็บข้อมูล เก็บข้อมูลเสร็จต้องถามว่าเก็บข้อมูลเสร็จแล้วเอาไปทำอะไร

เก็บเยอะมาก มัวแต่เสียเวลาทำระบบไม่ได้ใช้เลยก็เสียเวลา

เสียเวลา อย่ากรณีเคสนึงพี่ชอบมากเลยพี่เพิ่งอ่านมานะ คือเป็นเคสแบบพูดแล้ว Basic เคสของ Starbucks ตอนนี้ Starbucks ถ้าใครเดินเข้าไปบางสาขาในเมืองไทยเป็นแล้วแต่ที่อเมริกาเป็นหมดแล้ว คือสมัยก่อนมันเป็นป้ายแผ่น ๆ ใช่ไหม เดี๋ยวนี้มันเป็นจอทีวีหมดซึ่งก็ฟังดูปกติ แต่จอนี้มันไม่เหมือนกันสักที่นึงและไม่เหมือนกันสักเวลา ถ้ามันจับได้ว่าข้างนอกฝนกำลังจะตก เมนูบางเมนูจะขายดีในช่วงฝนตกเขามี Data อยู่เขาก็เอาเมนูนั้นขึ้นจอ

เพราะฉะนั้นในมุม Marketing ผมว่าที่พี่แท็บเล่าก็คือตั้งแต่เปลี่ยนเรื่องของวิธีการทำงานเลย แต่เดิมมันเหมือนเราซื้อ Billboard ได้ทีเดียว เราซื้อหนังสือพิมพ์ได้ 1 ครั้ง เราลงทุนเยอะมาก Upfront แล้ว Hope for The Best แต่ตอนนี้โจทย์คือพอทุกอย่างเป็น Digital หมด วิธีคิดของเราคือทดลองให้เยอะที่สุด แล้วหลายครั้งมันไม่ใช่ 1 อันที่เวิร์ค มันแบบอันนี้เวิร์คกับคนนั้น อันนั้นเวิร์คกับคนนี้ เพราะฉะนั้นโจทย์ของ Marketer สมัยนี้คือต้องทำการทดลองให้ได้เยอะที่สุด แล้วภาคที่เทคโนโลยีต้องมาช่วยก็คือเครื่องมืออะไรบ้างที่จะมาอำนวยความสะดวกในเรื่องของการทดลองพวกนี้ เก็บ Data ลูกค้ากลับมา แล้วเอา Data พวกนี้กลับไปใช้งานต่อข้างหน้า

จากเดิมธุรกิจจริง ๆ ต้องบอกว่าสมัยก่อนตั้งแต่สมัยยุคเครื่องพิมพ์ดีดยันจนคอมพิวเตอร์ พี่แท็บเอาขึ้นระบบ ต้องบอกว่าเป็นผู้นำคนหนึ่งที่สนใจเรื่อง Tech มาก ทำ Podcast ก็มี Tech Monday ซึ่งผมไปฟังแล้วแต่ละตอนก็นี่มันหนักมากนะ พี่แท็บทำ Content นี้ให้ใครฟังนะ แบบว่าหนักมาก ๆ อยากให้พี่แท็บลองเล่าให้ฟังหน่อยครับเรื่องของการเอาเทคโนโลยีมาช่วยในการ Transform องค์กร ทำอะไรไปบ้าง แล้วก็มี Lesson Learn อะไรที่น่าสนใจ

ต้องบอกว่าพี่ไม่ได้เป็นคนเก่งเรื่องพวกนี้นะ เพราะว่าถ้าเป็นในบรรดาแวดวงเพื่อน ๆ กันเขาก็จะรู้ว่าพี่เป็นคนที่รู้เรื่องนี้น้อยที่สุดในเชิงของ Technical Deep จริง ๆ ว่ามันทำอะไร แต่ว่าพี่ก็พยายามศึกษาในเชิงของ User ละกัน ใช้คำนี้แล้วกัน พี่คิดว่าเราต้องมานั่งคิดจากโจทย์ธุรกิจเราจริง ๆ ว่าวันนี้อะไรต้องใช้ มันมีสิ่งที่ต้องใช้และเวลาด้วยนะ คืออย่างตอนนี้พี่บอกว่าระบบข้างในต้องแน่นก่อน ก่อนยูจะไปทำ CDP, CRM จะไปตรงนั้นข้างในต้องเป๊ะมาก ถ้าเกิดว่าข้างใน Stock ยังเละอยู่อะไรพวกนั้นไม่ต้องทำหรอก เพราะว่ามันทำก็ไม่มีประโยชน์ ค่อย ๆ ทำก่อน แล้วก็ต้องดู Manpower เราด้วย Manpower เราในที่นี้ก็คือความสามารถในการหา Manpower ของเราซึ่งอาจจะไม่ได้เป็นคนของเราได้ ที่ปรึกษาก็ได้ เดี๋ยวนี้พี่ก็ใช้บริษัท Consult ข้างนอกทำเยอะแหละ เพราะพูดจริง ๆ หาพนักงานประจำทำยาก แล้วมันก็เป็นลักษณะ Project Base คือจบมันก็จบไปเป็นเรื่อง ๆ ไปใช่ไหมครับ แล้วก็ต้องคุยกับคนเยอะ ๆ ก่อนจะเลือกใช้เพราะของพวกนี้อย่างที่ต้ารู้คือ Implement แล้วถอยหลังยากใช่ไหม ส่งไปฝึกไป Train 6 เดือน ไม่ชอบเปลี่ยนเหอะ มันไม่ได้ ลูกน้องด่าเละ

คนทำงานเขาชอบบ่นกันว่า CEO ชอบเลือกอะไรมาก็ไม่รู้ คนใช้ไม่ได้ชอบ

ใช่ เพราะฉะนั้นต้องคิดแบบให้ through ก่อน ต้องเรียกว่ามีการแบบเอามาลองใช้ ลองถาม Feedback เป็นยังไงชอบทำใช่ไหม เสร็จแล้วก็ต้องใช้เวลาครับ รู้ทุกคนมีเงินพร้อมจ่าย แต่ว่าสิ่งที่สำคัญกว่าเงินคือจ่ายแล้วก็ได้ใช่รึเปล่า ไม่อย่างนั้นมันก็จะกลายเป็นของขึ้นหิ้ง

ทิ้งแล้วก็ทำใหม่

ใช่ พี่ทิ้งทำใหม่มาหลายรอบแล้วนะจนรู้ว่าตอนนี้ โอเค ใจเย็น ๆ อย่าพึ่งรีบ ตอนดูตอนแรกมันจะดูดีหมดทุกอย่าง เวลาเราดูโอ้โหตื่นเต้นจังเลย ยิ่งมีคน Reference ว่าใช้นี่สิพี่ดีมากเลย เราก็รู้สึกมันเจ๋งมากเลย แต่มันอาจจะเหมาะกับเขาไงไม่เหมาะกับเรา เป็นไปได้

มีอันไหนที่เจ็บหนัก ๆ ไหมครับทำแล้วทิ้ง

หนึ่งทำเว็บเอง ทำเว็บรอบแรกทำทุกอย่างเองหมดเลย ทิ้ง อันนี้แพงมาก แล้วก็จะพยายามจะทำระบบที่คล้าย ๆ กับพวก Low-Code Platform ตอนนี้คือเป็นคล้าย ๆ แบบ เรียกว่าเป็นระบบที่ Tools ในการ Run Process แบบ Automate Process แต่ทำสมัยที่มันยังไม่มีพวกนี้

ยังไม่มีคนพูดถึง Low-Code, No-Code แต่ Mission พี่แท็บไปแล้วอยาก Automate งาน

ทำไปแล้วคือมันก็ใช้งานได้ประมาณนึงครับ แต่ว่าด้วยที่เราทำเอง Bug มันเยอะ ในที่สุดก็ต้องรื้อระบบนั้นทิ้งแล้วก็ต้องไปเอาพวก Low-Code, No-Code มาช่วยทำพวกนี้แทน อันนี้ที่เจ็บหนัก ๆ มี 2 อันนี้

แต่ถ้าพูดถึง Tools ซักตัวนึงที่พี่แท็บได้เอามาลองใช้แล้วรู้สึกว่ามันเพิ่ม Productivity ให้ทีมแบบดีมาก Tools นี่ Life Saver มีตัวไหนไหมครับ

อันนี้โฆษณาให้เลย Kissflow ชอบมาก คือ Kissflow มันก็เป็นนี่แหละ Low-Code, No-Code แล้วก็เราเอา Process ทุกอย่างที่เรามีขึ้นไปบนนั้น แต่มันไม่ได้ง่ายแบบนี้นะ พูดแบบนี้หลายเดือนนะกว่าจะเสร็จ เสร็จแล้วสมมุติจะ Approve PR, PO จะ Approve Budget ใช้เกินทำยังไง มี Warning ยังไงอะไรแบบนี้วิ่งไปวิ่งมา เสร็จแล้วอันนี้ Auditor หรือใครก็ตามที่จะมาตรวจให้เราชอบมาก เพราะมันชัดเจนเลยว่าการ Approve ไม่ได้เซ็นด้วยนะ Approve จริง ๆ มันลากมาจาก Email Stamp เลยว่าใครเป็นครน Approve ชัดเจน ไม่ต้องมาหาหลักฐาน

คืออย่าง Kissflow เราก็สามารถวาง Workflow ได้ว่ามันต้องทำอะไรบ้าง เช่น การออกใบแจ้งหนี้ ใบซื้อ Sale Order ต่าง ๆ สำเร็จมันต้องทำอะไรบ้าง 1-3 ซึ่งบริษัทที่เรียกว่ามีกระบวนการทำงานที่ดีและกันจะต้องมี Work Instruction ว่าเราจะต้องทำอะไรบ้าง 1-3 แล้วสิ่งที่ Audit เขามักจะพยายามหาคือมันมีใครบ้างที่ทำ 1 แล้ว 5 หรือแอบทำ 5 แล้วค่อยกลับมาทำ 1 ซึ่งพอมีอย่างนี้ทุกอย่างมันก็ถูกล็อคอย่างนี้อยู่นะครับ แล้วก็เอกสารอย่างเดิมอาจจะต้องแบบ เราชอบใช้คำว่าจดหมายเวียนนะ มันต้องแบบคนนี้เซ็นแล้วคนนี้ Approve แล้วคนนี้ต่ออีกที อันนี้มันก็จะเรียกว่า Enforce Flow นี้ให้เราอัตโนมัติ

ถูกต้องครับ แล้วอีกอันนึงที่พี่ชอบมากคือมันไม่มี Data ถูกเก็บอยู่กับใครอันนี้สำคัญ คือสมัยก่อนเราจะมีไฟล์ Excel อันนึง เธอมีอันนึงฉันมีอันนึงอะไรอย่างนี้ใช่ไหม แต่อันนี้ไม่มีเลย คือทุกคนก็คือ Flow ไปแล้ว Data มาเก็บที่ถัง

พอเริ่มเห็นภาพมากขึ้นนะ พี่แท็บจากเข้ามาช่วยธุรกิจที่บ้านเริ่มจากการรื้อหลังบ้านก่อน เพราะหลังบ้านไม่พร้อมไปต่อไม่ได้นะครับ แล้วพี่แท็บก็ช่วยเอาเทคโนโลยีหลาย ๆ อย่างมาปรับปรุงการทำงานภายในให้ดีขึ้นนะครับ ทีนี้อยากพูดถึงตัวธุรกิจบ้างนะ ตอนที่พี่แท็บเริ่มมันเป็นผลิตภัณฑ์ Original ศรีจันทร์คลาสสิคแบบที่ทุกคนเคยรู้จักนะครับ แล้วหลังจากพี่แท็บเข้ามานะผมว่าผมเห็น Step นั้นมาอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากมีคล้าย ๆ เดิม บิดจากแป้งเดิมเป็นสูตรนั้นสูตรนี้ เริ่มมีเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ จนมาตอนนี้พี่แท็บประกาศกร้าวแล้วว่าเราจะเริ่ม Move ไป Beauty Wellness อะไรตรงนี้มากขึ้นนะครับ

อยากให้พี่แท็บลองเล่าภาพกลยุทธ์โดยรวมของศรีจันทร์ที่ผ่านมาให้ฟังหน่อยครับ

ที่ผ่านมาตอนแรก ๆ ไม่ค่อยมีกลยุทธ์ครับ คือจริง ๆ ศรีจันทร์ถึงแม้ว่าจะเก่ามากถ้านับอายุกันจริง ๆ แล้วเมื่อมันเริ่มเป็นธุรกิจแบบเวอร์ชั่นนี้ของมันมันอาจจะอายุสัก 7 ปีเองเท่านั้น เพราะฉะนั้นในช่วงแรกเหมือนทุกธุรกิจครับ เป้าหมายของเราคือรอดตายก่อน แค่นี่ก่อน ทำยังไงก็ได้ให้รอดตาย เพราะฉะนั้นช่วงแรกเราจะทำแค่นั้นเลยแหละ อะไรก็ได้ที่แบบ Survive ให้ได้ เสร็จแล้วพอเราเริ่ม Survive ได้ใช่ไหมมันเริ่มมีพื้นที่หายใจได้ เราก็จะเริ่มมาดูหน่อยซิว่าลูกค้าเราเขาพูดถึงเราว่าไงบ้าง จริง ๆ แล้ว Product ส่วนใหญ่ของเราก็มาจากลูกค้านี่แหละ คือเขาอาจจะไม่ได้บอกตรง ๆ นะ แต่ว่าเราต้องไปหาวิธีการแงะมาให้ได้ว่า Insight ของลูกค้าเรานี่คืออะไร ขั้นตอน Process จริง ๆ มันเริ่มต้นจากไม่มีอะไรเลย คุยกับลูกค้าเยอะ ๆ

พี่แท็บคุยเองเลยไหมครับ

คุยเองด้วยแล้วก็ทีมงานคุยด้วย แล้วก็ถ้าไม่ไหวจริง ๆ ก็จ้างคนช่วยคุยด้วยก็คือบริษัท Research นั่นแหละ คือก็ไม่ใช่ลูกค้าคนใช้อย่างเดียวนะ มันต้องมาจากหลายคน คนขายด้วย เจ้าของร้านพวกนี้เป็นแหล่งขุมทรัพย์ทางข้อมูลมโหฬารมาก พี่ Old Fashion นิดนึงพี่ก็จะชอบไปคุยเจอหน้าค่าตาเป็นการรักษาความสัมพันธ์ไปด้วยในตัว แล้วเราก็คุยกันแล้วเราก็จะได้ค่อย ๆ ได้ ไม่ใช่รู้ของเราคนเดียวนะ รู้ของคู่แข่งด้วยทีละนิดว่าเขาทำอะไรบ้าง แล้วเราก็กลับมาดูว่า โอเคถ้าจากข้อมูลที่เรามีแบบนี้เราอยากจะ Go Way ไหน Product เราจะ Launch Line ประมาณไหน ตรงนี้อยู่ใน Value ของเรา ต้องมี Value ก่อนว่าแบบนี้เราทำแบบนี้เราไม่ทำ เพราะฉะนั้นอย่างนี้โอเคอยู่ใน Value ของเรา เราทำได้

มี Product Line ไหนของเราที่ออกมาแล้วแป้กสุด ๆ พอจะแชร์ให้ฟังได้ไหมครับ

แชร์ได้ครับ แล้วมันมีเหตุผลด้วย จริง ๆ Product มันดีนะ แต่ว่าอย่างนี้พี่เล่าให้ฟัง หลังจากที่เรา Rebrand ตอนปี 2015 ที่เป็นโฆษณาฝรั่งนะ ที่คลิปมันเรียกว่าเป็นพลิกฟ้าพลิกแผ่นดินเลยโฆษณานั้น ตอนนั้นพี่มั่นใจมาก เด็กด้วย มั่นใจ เก่ง ตอนนั้นนี่นะไปเวทีการตลาดทุกเวทีได้รางวัลเต็มไปหมดเลยนะ มั่นใจมาก Product Launch ต่อไปที่ออกมาเป็น Product ที่ชื่อว่า Luminescence เป็นสี ๆ นะ เป็น Product ตัวเดียวที่พี่ไม่ทำ Research พี่ไม่คุยกับร้านค้า ไม่คุยกับลูกค้า คิดเองหมดเลย แล้วก็ห้าวมากด้วยไปทำที่ญี่ปุ่นก็เลยแพง เพราะเราเชื่อว่าขอให้ทำของมาให้ดีสุด ๆ เดี๋ยวลูกค้าซื้อเอง แต่เราลืมเรื่องราคาไป เราลืมเรื่องวิธีการสื่อสารไป Product ชุดนั้นถือว่าประสบความล้มเหลวอย่างมาก เสียเงินเยอะมาก ๆ เพราะว่าใช้โฆษณาเยอะใช้อะไรเยอะ Ego เยอะตอนนั้น จาก Ego นั้นเสียเงินไปหลาย 10 ล้าน ก็เลยรู้แล้วว่าไม่ได้ ต่อไปนี้ Process มันต้องเหมือนเดิม ลูกค้าก่อนแล้วค่อย Develop เก็บ Feedback แล้วก็กลับไปถามลูกค้าอีกรอบ แล้วก็ Develop เก็บ Feedback มันต้องแบบนี้ พี่โชคดีที่พี่ได้รับบทเรียนนี้ตอนที่ธุรกิจมันยังไม่ได้ใหญ่มาก ไม่รู้โชคดีหรือโชคร้าย แต่ตอนนั้นก็เป๋ไปเลยนะ บทเรียนอันนั้นเป็นบทเรียนที่พี่เล่าให้ทีมงานยุคหลัง ๆ เวลาเข้ามาพี่จะบรีฟแล้วก็จะเล่าเรื่องนั้นให้ฟังว่ามนุษย์เรา Ego มันทำให้เรามองไม่เห็นอะไรเลย อันตรายมาก

ดีครับ ดีมากเลย Story นี้ ชอบ

ตอนนี้นะผมว่าถ้าพูดถึงตลาดความเป็นเครื่องสำอาง จริง ๆ ต้องบอกคู่แข่งเยอะมาก แล้วก็เรียกว่าเป็น 1 ในผลิตภัณฑ์ที่คนเข้ามาเล่นได้ง่ายมาก มีโรงงานรับทำ OEM เรียกว่าดาราหลายคนมีแบรนด์ของตัวเองหมด เราบิดยังไง เราสู้ยังไงครับ

พี่อยู่ใน 2 ธุรกิจที่คนเข้ามาทำง่ายมากที่สุดเลย ทั้งธุรกิจ Content และธุรกิจเครื่องสำอางค์ ลักษณะจริง ๆ คล้ายกันมากเลยนะ วิธีการคิดของการว่าจะอยู่ได้ยังไง ข้อที่ 1 Consistency สำคัญมาก อย่างในกรณีของเครื่องสำอาง Consistency ของมันหมายถึง Consistency ของ Budget ด้วยนะ คือเราจะต้องอยู่ให้เขาเห็นอยู่ตลอด เขาจะไม่ซื้อวันนี้ก็ได้ แต่เราอยู่ตรงนั้นหรือเปล่าตลอด ไม่ว่าจะเป็น Media Spending ไม่ว่าจะเป็นอะไร แล้วก็นาน ๆ เราก็อาจจะมี Shoot อะไรขึ้นมาให้มันมี Impact

เพื่อให้เขาจำเราได้ แล้ววันนึงที่เขานึกถึงเรา เรายืนรอเขาอยู่ตรงนั้น

ใช่ อันที่ 2 ก็คือเราวิเคราะห์ Journey ลูกค้าอย่างสม่ำเสมอรึเปล่า น่าสนใจเพราะว่าเดี๋ยวนี้ Journey ของการซื้อของมันเปลี่ยนเยอะมากจริง ๆ แล้วมันละเอียดมากเรียกว่าแทบจะเขียนทั้งหมดออกมาไม่ได้เลยแหละ แต่ว่าเราต้องมี Journey หลัก พวกนี้เราต้องจับให้อยู่หมัดให้ได้ เครื่องสำอางที่ขายในร้านสะดวกซื้อ เครื่องที่ขายที่ร้านขายเครื่องสำอางมันมีวิธีคิดในการทำ Point of Sale ไม่เหมือนกันเลยนะ ซึ่งมันก็เกี่ยวกับเรื่อง Journey นี่แหละ

พี่แท็บลองเล่าเรื่อง Journey อาจจะยกตัวอย่างสัก 1-2 Product ของศรีจันทร์ได้ไหมครับ

คืออย่างนี้ เวลาเราคิดใช่ไหมว่าเราจะซื้อของสักชิ้นหนึ่งลูกค้าเราเขาจะซื้อยังไง คนส่วนใหญ่ก็คิด เห็น Ads แล้วก็กดซื้อจาก Ads อะไรอย่างนี้ ก็จริง อันนั้นก็มีส่วนหนึ่ง แต่บางทีมันไม่ใช่อย่างนั้น บางทีมันเป็นเพราะว่าเขาไปกินข้าวกันแล้วก็บอกว่าเธอหน้าใสจังเลยช่วงนี้ เธอใช้อะไร แล้วถ้าลูกค้าเลือกที่จะพูดชื่อเราออกมานะ เราจะได้คะแนนในกลุ่มนั่นไปเลย คำถามคือลูกค้าทำไมถึงต้องเลือกพูดชื่อเราด้วยทั้งที่จริง ๆ แล้วมันอาจจะมาจากหลายอย่าง ความเป็นจริงเวลาคนมันหน้าใสขึ้นมาไม่ได้เกิดขึ้นมาอย่างเดียวอยู่แล้ว มันมาจากหลายอย่างพร้อม ๆ กัน วิธีการก็คือทำยังไงลูกค้าจะรักเรามากที่สุด เขาจะพูดชื่อคนที่เขารักมากที่สุดออกมา เพราะฉะนั้น Activity ที่เราทำกับลูกค้าเพื่อให้ลูกค้ารักเราจึงเยอะมาก พี่ยกตัวอย่างนะครับ นโยบายของการเปลี่ยนของของศรีจันทร์ สมมติลูกค้าซื้อของไปแล้วเกิดปัญหาแตก Even แม้แต่ลูกค้าทำแตกเองเราเปลี่ยนให้ทุกเคสไม่เคยถาม เราจะขอของกลับมาบางเคสเท่านั้นกรณีที่เราอยากจะดูว่ามันมีเรื่อง QC หรือเปล่า แต่ถ้าเกิดว่ามันเป็นเรื่องปกติทั่วไปเราไม่ขอของกลับด้วย ก็คือส่งของใหม่ไปให้เลย ถามว่ามันเปลืองเงินไหมก็เปลืองเงินนิดหน่อยเหมือนกัน แต่ว่าเราทำแบบนี้อย่างสม่ำเสมอ ลูกค้า Happy ทุก ๆ เทศกาลพี่จะเขียนการ์ดหาลูกค้าอยู่เป็นประจำ เขียนการ์ดส่งของไปให้ ช่วงโควิดต้องส่งเป็นหมื่นคนเลยนะ เซ็นการ์ดกันมือหงิกเลยนะ เราจะพยายาม Keep Relationship กับลูกค้าแบบนี้และในอีกหลาย ๆ แบบที่เขาบอกว่าการสร้าง Brand Love มันผ่าน PR ผ่านด้วยหลายเรื่อง อันนี้ครับจะทำให้เรามีโอกาสอยู่ใน Journey ของลูกค้ามากขึ้น สองเก็บ Feedback สำคัญมาก เช่นเดียวกันกับธุรกิจเครื่องสำอางและธุรกิจ Content ทำเยอะทำถี่ก็ดี แต่ถ้ายูไม่เก็บ Feedback มันก็ไม่พัฒนาหรอกมันก็วนอยู่ที่เดิม เพราะฉะนั้นการเก็บ Feedback ต้องเอาขึ้นมาให้ทุกคนเห็นแล้วเอาให้ทุกคนมาดูด้วยกันว่านี่คือ Feedback และนี่คือสิ่งที่เราทำได้ดี นี่คือสิ่งที่เราทำได้ห่วย เอาไงดี มาระดมสมองกัน มาคิดกัน อย่างกรณี Content จะชัดเลย อันนี้คนไม่ชอบ ลองหลายทีแล้วอย่าฝืน

แต่ผมสังเกต Mission to The Moon ทดลองหลายอย่างมาก

ทดลองเยอะมาก แต่ว่าต้องยอมรับหน่อยว่า Content มันทดลองง่ายกว่า Product ทดลองเหมือนกัน คล้าย ๆ เราจะมี Small Batch แต่ว่าอันนี้คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นหรอกเพราะว่ามันก็จะอยู่ในกลุ่มเล็ก ๆ เเล้วเราจะให้คนสัก 1-2 พันคน Test 1-2 พันคนมันก็เป็นปริมาณ Feedback ที่เยอะพอแล้วที่เราจะบอกว่าอันนี้เนื้อไม่ค่อยดี เราคิดว่าดีแต่ลูกค้าไม่ชอบเพราะเวลาเขาไปใช้จริงแล้วมันไม่เวิร์คอะไรอย่างนี้ อันนี้เนื้อเบาไป อันนี้เนื้อหนักไป เราจะเอาพวกนี้กลับมา Develop เรื่อย ๆ ถามว่ามันช่วยให้เราแตกต่างจากคู่แข่งได้เยอะมากไหม คือคู่แข่งเขาก็ทำเราพูดจริง ๆ คือที่พี่พูดมาทั้งหมดก็ไม่ใช่ที่คนอื่นเขาไม่ทำกันหรอก เพียงแต่ว่าเนื่องจากตลาดมันใหญ่และก็โต เวลาตลาด Sizing มันใหญ่แล้วมันยังโตอยู่ การมีคู่แข่งเข้ามามันพอมีพื้นที่ให้ทุกคนอยู่ได้ แล้วเราก็ต้องรักษาแฟนของเราให้แน่น ๆ แฟนเราสำคัญมากเพราะแฟนเราจะเป็นคนไปช่วยเราขายต่อบอกต่อ

นับจากวันนั้นที่ Rebrand ผมว่าคนเริ่มรู้จักพี่แท็บตั้งแต่วันนั้นแหละ ทุกคนก็เฝ้าติดตาม ศรีจันทร์ก็มีของใหม่ออกมาเรื่อย ๆ บริษัทพี่แท็บใหญ่โตขึ้นเรื่อย ๆ ตอนนี้ประกาศชัดเจนแล้วเตรียมเข้า IPO พี่แท็บกระตุ้นน้อง ๆ ยังไงครับให้มาช่วยเราปั๊มยอดทำยอด พาธุรกิจให้เติบโตขึ้น ทำยังไงให้น้อง ๆ เขา Productive กับเราได้ตลอดเวลาครับ

พี่เคยได้คำสอนที่มีค่าที่สุดตอนไปสัมภาษณ์คุณซิกเว่ คุณซิกเว่เผื่อใครไม่ทันคืออดีต CEO ของ Dtac นะครับ ตอนนี้เป็น Group CEO ของ Telenor คุณซิกเว่บอกว่าถ้ายูจำอะไรไม่ได้เลยจากการสัมภาษณ์นี้ขอให้จำ 3 คำนี้ไว้ Tight Loose Tight ซึ่งพี่จำอะไรไม่ได้เลยจริง ๆ นะ คือจำได้ 3 คำนี้จริง ๆ วิธีการบริหารทีมที่ดีที่สุดไม่ว่ายูต้องการจะ Drive อะไรก็ตามให้จำ 3 คำนี้ไว้ Tight ที่ 1 คือกำหนดเป้าหมาย ต้อง Tight แปลว่าเป้าหมายต้องไม่มีการตีความได้ คือไม่ต้องตีความ คนเดินออกมาจากห้อง 10 คนเวลาเราพูดถึงเป้าหมายไปดึงใครเข้ามาถามทีละคนต้องตอบตรงกันหมดอันนี้คือ Definition ของคำว่า Tight เพราะว่าถ้าเป้าหมายไม่ชัด เละ Loose คือวิธีการทำงาน วิธีการทำงานไม่ต้องไปยุ่งกับเขามาก ให้กรอบกว้าง ๆ ให้เครื่องมือไป ให้เขาไปหาวิธีเอง คนนึงอาจจะใช้วิธี 1234 บางคนอาจจะใช้วิธี 3421 อะไรก็ว่ากันไปแล้วแต่เขาไม่เป็นไรไม่ได้มีปัญหาอะไร Tight สุดท้ายคือวิธีการวัดผล อันนี้ต้องคมกริบเลย คุณซิกเว่บอกว่ามันมีผู้บริหารหลายประเภทที่ทำสลับกันไปหมดเลย บางคนเป็น Tight Tight Tight นี้เรียกเผด็จการ บางคนก็ Loose Loose Loose อันนี้เป็นหัวหน้าที่ประเภทที่แบบ พี่อยากได้อะไรครับ พี่ก็มารู้เหมือนกันไปคิดมาละกันอย่างนี้ ไม่ดีนะ คือคุณซิกเว่บอกว่าคำว่าให้ Autonomy ในการทำงานมันคือตรงกลางเท่านั้น ยไม่สามารถให้ Autonomy ในการไปคิดเป้าหมายได้ Autonomy มีในตอนคิดแต่เมื่อตกลงกันแล้วมันต้องนิ่งละไม่งั้นคนมันจะเป๋ไปเป๋มา

ซึ่งจริง ๆ ก็ต้องบอกว่าอันนี้ก็ Align กับหลาย ๆ บริษัทใน Silicon Valley นะอย่าง Netflix เขาก็จะ Freedom and Responsibility คือคุณมีอิสระในการคิดแต่คุณต้องรับผิดชอบเป้าที่เราคุยกันแล้วคุณก็ต้อง Deliver Result ให้ได้ตามนั้น

ไหน ๆ เรามาเรื่อง Productivity แล้วครับ พี่แท็บเริ่มคำนี้ครับ ทั้งประเทศไทยต้องตื่นเต้นกับ Super Productivity ของพี่ น้องเขาส่ง Script บรีฟผมนี่เขาส่งวิดีโอพี่ทำ Sixpack มาให้ผมดูด้วย จากวันนั้นจนวันนี้ครับผม ตอนนี้โลกเปลี่ยนไปเยอะ โควิดเข้ามา แนวคิดในเรื่องของการทำงานหลาย ๆ อย่างเปลี่ยนไป หลายคนเริ่มเรียกว่า Anti-Productivity ทุกคนเริ่ม Burnout ทุกคนเริ่ม Quiet Quitting ทุกคนเริ่มไม่ค่อยอยากจะ Productive แล้ว ตอนนี้มุมมองของพี่แท็บในเรื่องนี้เปลี่ยนไปยังไงบ้างครับ

มันจะมีความซับซ้อนนิดนึง พี่จะพยายามค่อย ๆ คลี่ให้ฟังว่าพี่คิดเรื่องนี้ยังไง คือคำว่า Productive ของพี่ยังคงเหมือนเดิมนะ Productive คือการสร้าง Value สูงที่สุดในการใส่ทรัพยากรลงไปให้น้อยที่สุด นั่นหมายความว่าคน Productive ไม่ใช่คนที่นั่งทำงานอยู่ออฟฟิศถึงเที่ยงคืนอะไรแบบนี้ไม่ใช่

อันนี้เป็นอันแรกที่ต้องชัดก่อนนะว่า Productive ไม่ได้แปลว่าต้องทำงานหนัก

ไม่ใช่ คือ Value เยอะสุด แรงน้อยสุด พี่คิดว่าก็ยังคงเป็นเหมือนเดิม Concept อันนี้ยังคงอยู่ เพียงแต่ว่าวิธีการ Execute จริง ๆ แล้วมันน่าจะยิ่งทำให้คำนี้มีความหมายกว้างไกลมากยิ่งขึ้นด้วยนะ เพราะตั้งแต่มีโควิดทำให้เราสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ รูปแบบการทำงานก็ไม่เหมือนเดิมใช่ไหมครับ ยกตัวอย่าง พี่รู้สึกว่าพี่ Heal ตัวเองจากการ Burnout พวกนี้ด้วยการไปอยู่ต่างจังหวัดนาน ๆ ทีนึง 2-3 อาทิตย์ แล้วหลายคนก็ทำแบบนี้ แล้วก็ทำงานนะไม่ได้ไม่ทำงาน มันช่วยมากเพราะว่าเวลาไปอยู่ต่างจังหวัด ชีวิตมันจะเป็นแบบนี้ ตื่นเช้ามาออกกำลังกาย ทำงาน เสร็จปุ๊บ 6 โมงเย็นมันตัดโลกออกเลย แต่ถ้าในสมัยก่อนถ้าทำแบบนี้ก็คือต้องลาพักร้อนถูกไหม แต่ว่าตอนนี้เราสามารถทำงานไปด้วยได้และ Heal ตัวเองไปด้วยอีกหนึ่ง Process ได้ด้วย ซึ่งพี่มีความรู้สึกว่ามันดีกว่าสมัยก่อนอีก ขอบคุณการประชุมทางไกล เพราะถ้าเกิดไม่มีการประชุมทางไกลแบบนี้เราคงไม่สามารถทำอะไรแบบนี้ได้เลยจริง ๆ เพราะว่าสมัยก่อนให้มานัดประชุม Zoom คงไม่มีใครมาคุยด้วยจริง ๆ นะ อีกเรื่องหนึ่งก็คือว่า Priority ของพี่ก็เปลี่ยนไปอันนี้จะเป็นมุม Productive อีกมุมนึง ในอดีตบอกตรง ๆ เลยนะ คือต้องการหาเงินมากที่สุด คือทุกอย่างจะคิดแต่เรื่องเงินใช่ไหม พอเจอโควิดเข้าไปประกอบกับช่วงโควิดมีเพื่อนเสียไปหลายคนตอนนั้น แล้วเราก็รู้สึกว่าไม่มีประโยชน์ที่จะทำงานหาแต่เงินแล้วไม่ได้ดูแลด้านอื่น พี่เลยปรับ Priority ของชีวิตใหม่ คนเรามันมีอยู่ 4 ขาครับต้า พี่คิดว่านะมันมี 4 ขา ขาที่ 1 คือ Health ขา 2 คือ Wealth ก็เกี่ยวกับเรื่องทำงาน เรื่องตังค์อะไรทั้งหลายนะ ขาที่ 3 คือ Relationship ขาที่ 4 คือ Self สมัยก่อน Health หลายคนมักจะถูกผลักไปอยู่ใต้ ๆ ล่างสุด แต่ตอนนี้พี่บนสุดเสมอ คือสมมุติว่าเย็นนี้ลูกน้องพี่บอกว่าพี่ขอนัดประชุมหน่อย 5 โมงครึ่งแบบมีเรื่องด่วนมากเลยพี่ ด่วนขนาดไหนพี่จะไปวิ่ง ถ้าไม่ด่วนมากคอขาดบาดตายพี่จะไปวิ่ง ไม่ประชุม คือไม่อย่างนั้นเราก็ไม่จบ คือถ้าให้ Priority มันนะเราก็จะมีเวลาให้มันเสมอ ที่เขาบอกว่าไม่มีใครไม่มีเวลานะ เพียงแต่ว่าเรื่องที่คุณไม่ได้ทำ ที่คุณบอกไม่มีเวลาจริง ๆ มันไม่สำคัญสำหรับคุณก็เลยไม่ทำแค่นั้นแหละ Relationship ก็เหมือนกัน บางทีเรารู้สึกว่าคนวัยนี้ส่วนใหญ่มันจะบ้างาน ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน คือสิ่งยึดโยงที่สุดที่เรารู้สึกว่ามันมีค่าตัวกับเราที่สุดมันคืองาน สำหรับคนส่วนใหญ่นะไม่ได้พูดถึงว่าทุกคนนะ เราก็เลยให้เวลากับพวกนั้นเยอะมากจนลืมเรื่อง Relationship ไปบางที บางทีพ่อแม่จะคุยด้วยอย่างนี้ ยุ่งประชุมอยู่ โอเคแหละถ้าประชุมอยู่ก็ประชุมไป แต่มันก็จะมีบางจุดที่เราทำเกินพอดีไป ต้าลองถามเพื่อนก็ได้ในรุ่น ถามว่าจริง ๆ ทำงานน้อยกว่านี้ได้ไหม เชื่อไหมว่าคนส่วนใหญ่ตอบว่าได้ แต่ที่ทำนี่เลือกเองทั้งนั้น เพราะรู้สึกว่าเรามีคุณค่า

เราเสพคุณค่าจากการทำงานจนเราลืมคุณค่าจากแกนอื่น ๆ ที่เป็น Health เป็น Relationship แล้วก็ตัวเอง

Self นี่สำคัญที่สุดเลย Self นี่คือพวกจิตวิญญาณนะ คือเรียนรู้โลกภายในของเรา ไปวิปัสสนา บอกว่าไปวิปัสสนา 10 วัน คนแบบไม่มีทางหรอกพี่งานมันยุ่งใช่ไหม แต่จริง ๆ ถ้าเทียบความสำคัญกันแล้วจริง ๆ มันน่าจะสำคัญกว่านะ เดี๋ยวนี้พี่จะเริ่ม Balance พวกนี้เยอะมาก เพราะฉะนั้นต้องยิ่ง Productive กลับมาที่เรื่องเดิม เพราะเราจะเอาเวลาไปทำอย่างอื่นด้วยใช่ไหม แปลว่าเวลาที่เราทำงานทุกนาทีต้อง Productive มาก ๆ ต้องเปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่ให้ Productive ขึ้นไปอีก ยกตัวอย่าง เดี๋ยวนี้มันมี Tools ใช้เยอะ Chat-GPT นี่พี่คุยทุกวัน แล้วพี่ก็เริ่มเข้าใจว่า ยกตัวอย่างเช่นสมมติว่าทำยังไงให้มันเขียนดี ก็คือถ้าเกิดถามมันเพลน ๆ มันก็จะตอบเพลน ๆ แต่ก็บอกว่า Pretend You are an Expert แค่พิมพ์ประโยคนี้นะมันก็จะเก่งขึ้นมาหน่อยนึง แล้วพอเราทำบ่อย ๆ มันประหยัดเวลาเรามากเลย หลายอย่างตอนนี้พี่ใช้ Chat-GPT ทำเลยแหละเวลาอธิบายงานลูกน้องอย่างนี้นะ แต่ก็ต้องตรวจความถูกต้องนิดนึงนะบางทีมันก็เพี้ยน ๆ ได้ แปลว่าเราใช้เวลา 1 ชั่วโมงเหมือนเดิม แต่ว่า Output เยอะขึ้น

Keyword ผมว่าน่าจะเป็นเรื่องของการหาสมดุล จาก 4 ขาเมื่อกี้ของพี่แท็บ Health, Wealth, Relationship, Self มันไม่ใช่ Wealth อย่างเดียวทำงานหาเงิน คนส่วนใหญ่มัวแต่ Value สิ่งนี้จนลืมvอันอื่น ทั้งที่จริง ๆ อันอื่นมันก็เติมเต็มเราได้ แล้วถ้าเราอยากให้งานได้ผลดีด้วยแล้วมีเวลาทำอย่างอื่นด้วยจริง ๆ แล้วเราต้อง Productive มากขึ้น ทุกนาทีทุกวินาทีที่เราลงกับงานทำยังไงให้เราได้ Output มากที่สุด และเราจะได้มีเวลาไปทำอย่างอื่นนะครับ ซึ่งตอนนี้แล้วกันที่อาจจะเด็ก ๆ น้อง ๆ คนทำงานหลายคนกำลัง Suffer มันคือฉัน Productive แล้ว และฉันก็ยังอยากได้เวลาของฉันมากขึ้นอีก และฉันก็อยากจะ Productive ตลอด 24 ชั่วโมง สุดท้ายพอแกนอื่น ๆ มันหายไปมันก็ส่งผลกระทบกับเขาในระยะยาว

พี่มี Tips นิดนึงครับอยากจะแชร์น้อง ๆ คือมันเป็นเรื่องที่ Basic มากแต่ว่าอยากให้ลองทำดู ทุกวันนี้เราอยู่กับ Screen ตั้งแต่ตื่นจนหลับเลยนะลองคิดดูดี ๆ นะ มือถือปลุก เราเอามันมาปิดใช่ไหม เสร็จแล้วมันจะมีช่วงเวลาที่คนส่วนใหญ่ใช้เรียกว่าประกอบร่าง ไถดูวันนี้มีอะไรบ้าง ตาเปิดข้างหนึ่งอยู่นะ เสร็จปุ๊บลุกขึ้นมาหยิบนาฬิกามาใส่ นาฬิกาก็ Smart Watch นี้ก็ Screen นะ อยู่ในห้องน้ำห้องครัวตอนเช้าหลายคนก็จะมี Tablet เดินถือไปด้วย ตั้งดูข่าวดูอะไรก็ว่ากันไป ขึ้นรถ รถเดี๋ยวนี้ก็เป็น Screen สมัยก่อนรถไม่ค่อยมีอะไร เดี๋ยวนี้รถจอใหญ่อย่างนี้เลย ถ้าพีคหน่อยมี Microsoft Team ประชุมได้อีกไปกันใหญ่เลยนะ ถึงออฟฟิศไม่ต้องพูดถึงเลย Screen ทั้งวัน พักก็ Screen ข้าวเที่ยงก็ Screen กลับบ้านตอนเย็นดู Netflix แล้วก็นอนไปพร้อมกับโทรศัพท์ แน่นอนครับมันมีประโยชน์เยอะ แต่สิ่งที่หายไปคือช่วงเวลาที่มีสมาธินิ่ง ๆ กับเรื่องอะไรบางอย่างซึ่งสำคัญมาก เราลองไปดูคนที่เขาประสบความสำเร็จมาก ๆ ช่วงเวลานี้คือช่วงเวลาที่อาจจะไม่ได้มีเยอะใน 1 วัน แต่มันคือช่วงเวลาที่ Produce 80-90% ของ Result ยกตัวอย่างง่าย ๆ นักเขียน ถ้านักเขียนไม่มีช่วงเวลานี้จะไม่มีงานที่มีคุณภาพ คำถามคือทำยังไงดี แนะนำแบบเป็นรูปธรรมเลยนะครับ และนี่คือสิ่งที่พี่ทำจริง ๆ อันดับแรกพี่ตกลงกันทั้งบริษัทซึ่งมันเป็นกติกาสากลพี่ไม่ได้คิดเองนะ Email อายุ 24 ชั่วโมง แปลว่าส่ง 10 โมงเช้าวันนี้ตอบก่อน 10 โมงเช้าวันพรุ่งนี้ถือว่ายังไม่สาย อายุของแชท 2-3 ชั่วโมงกติกาสากล แปลว่าพิมพ์ตอนนี้เดี๋ยวค่อยตอบก็ได้ สิ่งที่ต้องตอบเลยหรือควรตอบเลยคือเวลาเขาโทรมา อันนี้คือด่วนใช่ไหม เพราะฉะนั้นมือถือพี่จะเปิด Notification แค่ 2 อย่างเท่านั้น คือ SMS กับโทรศัพท์ นอกจากนี้พี่ปิดเข้า Do not Disturb หมดแล้วก็มีเหมือนกันนะบางทีนะ ถ้าเกิดจะเอาสมาธิจัด ๆ 2 อันนี้ถือว่าเพียงพอแล้ว ที่เหลือนะครับ Microsoft Team พี่ก็ไม่เปิด Notification, Email ก็ไม่มี Notification ไม่มี Notification อะไรเลย ไม่ต้องพูดถึง Social Media ไม่มีเลย ใน Computer ก็เหมือนกัน เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นพอเป็นแบบนี้ถึงเวลาแปลว่าพี่เช็คอีเมลวันละรอบ 3 โมง ช่วงที่สมองมันเริ่มแบบเบลอ ๆ แล้วพี่เช็คอีเมล เช็คที่เป็น Batch เช็คหมดเลยรวดเดียวจบ แชทก็เช็ค อาจจะเช้าครั้ง เทียงครั้งบ่ายครั้ง เย็นครั้ง ตอบทีเดียว เราต้องทำให้ตัวเองมีสมาธิให้มากขึ้น โจทย์มันมีอยู่แค่นี้

จริง ๆ ผมคล้ายพี่แท็บเลย ผมปิด Notification เกือบทุกอย่าง ผมว่าช่วยได้เยอะสิ่งที่มันช่วยเราคือผมเรียกเป็น Switching Cost คือถ้าเราตอบ Message ทุกครั้งและอีกคนมาอีกช่องนึงมันเหมือนเราต้องคิดเรื่องใหม่จนถึงจุดหนึ่งตอนที่ผมปิดทุกอย่างคือเหมือนตัวเองเป็นปลาทองแล้ว เหมือนรู้ว่าเมื่อกี้จะทำอะไรสักอย่างแล้วมันเริ่ม Track ไม่ได้แล้ว ตอนนี้ปิดทุกอย่างเลยครับ ทำเป็น Batch ดีครับ

มันมีทฤษฎีอยู่เหมือนกันนะครับต้าเขาบอกว่า คำว่า Multitasking ไม่มีอยู่จริง เวลาเรา Multitasking เราทำอันนี้แล้วหยุดทำอันนี้แล้วเริ่มอันใหม่ แต่ทุกครั้งที่เริ่มต้นทุนของการ Start เรื่องให้มันใช้เวลาเยอะ

มันมี Starting Time พอเรา Switch เยอะ ๆ แปลว่าเราก็จะเสียเวลากับ Starting Time เล็กน้อยตลอดวัน เห็นด้วยเลยครับดีมาก ๆ วันนี้เราได้ฟังหลายเรื่องราวจากพี่แท็บเลยนะครับตั้งแต่เส้นทางการทำธุรกิจนะครับมาจนถึงการบริหารองค์กรรวมไปถึงแนวคิดเรื่องของการมีชีวิตที่ดีขึ้นนะ ทำงานได้ดีขึ้น Productive แต่ว่ายังมีชีวิตที่ดี สุขภาพที่ดี Relationship ที่ดีแล้วก็ดูแลตัวเองไปด้วยนะครับ

ตอนนี้นะผมแอบได้ยินมานะครับ Mission to The Moon กำลังจะมีงานใหญ่ประจำปีนะครับ Mission to The Moon Forum 2023 ซึ่งปีนี้ต้องบอกว่าน่าสนใจมากเพราะมาในธีม Work Life Improvement เราไม่ได้จะมาให้ทุกคน Productive อย่างเดียวแล้วนะ ให้ทุกคนปรับสมดุลตัวเองกลับมาดูในเรื่องของชีวิตด้วยนะครับ ให้พี่แท็บเล่าถึง Event นี้หน่อยครับผม

ก็ Event นี้ก็เป็น Event ใหญ่นะครับ แล้วก็คือจริง ๆ Concept ก็คือว่าเหมือนที่คุยกันวันนี้แหละ ทำงานยังไงให้ดีขึ้น ชีวิตยังไงจะดีขึ้น แล้ว 2 อย่างนี้กระดูกที่เชื่อมกันอยู่มันมีอะไรบ้าง แล้วเราจะทำยังไงให้ทั้ง 2 ขาไปด้วยกัน ในนั้นก็จะพูดถึงหลายเรื่องครับ ตั้งแต่แนวคิดเรื่องการทำงานอะไรที่เราคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วก็จะมาอัพเดทต่าง ๆ แต่พี่จะมีอีกฟากหนึ่งที่เป็นเรื่องของกินอาหารยังไงให้สมองดีด้วย ผอมด้วย อะไรเป็นสิ่งที่ควรทำใน Environment ที่ต้องบอกว่าเราอยู่ในสภาพที่มี Toxin เยอะ ทำยังไงเราจะ Survive Environment แบบนี้ได้นะครับ แล้วก็ Tips ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอน การออกกำลังกาย มันมีศาสตร์ใหม่ ๆ เกี่ยวกับเรื่องพวกนี้เยอะ เนื่องจากว่าเราไม่ได้อยู่ในวงการนี้ใช่ไหม เราก็ไม่ค่อยรู้ พี่ก็จะไปเอาคนที่เขาอยู่ในวงการนี้จริง ๆ เช่น คุณหมอที่ดูแลโภชนาการนะ เดี๋ยวนี้พี่ไปหาหมอบ่อยมาก ไม่ได้เป็นอะไรนะ คือไปให้เขาดู ยกตัวอย่างเช่น เขาบอกว่า 10 ปีที่ผ่านมาเราศึกษาเรื่อง DNA เยอะมาก แต่ต่อจากนี้ 10 ปีต่อจากนี้เรื่องที่เราศึกษากันเยอะคือเรื่องจุลินทรีย์ครับ จุลินทรีย์ในลำไส้ของเราอะไรพวกนี้มันส่งผลต่อความสุขของเรายังไงบ้าง ส่งผลต่อสมองเรายังไงบ้าง มันเกี่ยวกันหมดเลยนะ ตอนที่เราจัดงานนี้ตอนที่เราเรียงขึ้นมาเราเห็นได้เลยว่ามันไม่มีอะไรแยกกันเลย ของที่เรากินที่ออฟฟิศส่งผลต่อ Efficiency ในการทำงานทันทีเลยนะ มันเกี่ยวกันอย่างน่าอัศจรรย์

ดีครับ เพราะฉะนั้นถ้าเรากินดี หลับดี ชีวิตมีความสุข จริง ๆ ก็กลับมาเรื่อง Productivity มันก็ทำให้การทำงานของเราดีขึ้น ก็เป็นอีกหนึ่งงานที่น่าสนใจนะครับ ก็ยังไงเดี๋ยวฝากทุกท่านติดตาม Event นี้ไปด้วยนะครับ เดี๋ยวน่าจะเจอกันครับผมก็น่าจะไปแจมด้วยนะครับ ก็วันนี้ขอบคุณพี่แท็บมาก ๆ ที่สละเวลามาคุยกันนะครับ เชื่อว่าเป็นประโยชน์กับผู้ฟังรายการ Chief’s Table ของเรามาก ๆ ขอบคุณมาก ๆ ครับ สวัสดีครับ

อ่านเพิ่ม